The efficiency study of remote healthcare technology in stimulating development of early childhood with developmental delay: a pilot study

การศึกษาประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลกับการกระตุ้นพัฒนาการในเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า: การศึกษานำร่อง

ผู้แต่ง

  • สโรญา หวังเจริญ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วิเชียร ชุติมาสกุล

คำสำคัญ:

การกระตุ้นพัฒนาการ, เครือข่ายสังคมออนไลน์, ทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรม, แบบประเมิน Mullen Scale of Early Learning, เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกล

บทคัดย่อ

การกระตุ้นพัฒนาการเด็กช่วงขวบปีแรกเป็นช่วงที่สำคัญ เพราะสมองเด็กในช่วงนี้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะเด็กที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย จำเป็นต้องอาศัยการกระตุ้นที่ถูกวิธี และต้องได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์หรือนักกระตุ้นพัฒนาการวิชาชีพ แต่ท่ามกลางปัญหาการเฝ้าระวังช่วงโควิด-19  การเดินทางไปพบแพทย์มีความลำบาก เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่าย การเฝ้าติดตามอาการและการวินิจฉัย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการกับทีมแพทย์ โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการกระตุ้นพัฒนาการผ่านเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลกับแบบเดิม ในเด็กที่มีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเด็กอายุ 2–18 เดือน จากคลินิกพัฒนาการทารกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลศิริราช โดยใช้แบบประเมินความก้าวหน้าพัฒนาการของ MSEL และการสัมภาษณ์ รวมทั้งการใช้ทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าการกระตุ้นพัฒนาการผ่านเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพทางไกลโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ต่างกับการกระตุ้นพัฒนาการแบบตัวต่อตัว แต่อย่างไรก็เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและผู้ป่วยได้รับความสะดวกในการรับดูแลอย่างต่อเนื่อง

References

1. Center on the Developing Child. Brain Hero [Internet]. 2009 [cited 2021 April 22]. Available from: https://developingchild.harvard.edu/resources/brain-hero/
2. กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.115/knowledge/mapping/paper/view?id=94
3. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ขอความร่วมมือดำเนินการตามมาตรการลดความแออัดในโรงพยาบาล [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other5.pdf/
4. Levine LE, Munsh J. Child Development from Infancy to Adolescence. UK: Sage Publication; 2016.
5. Stiles J, Jernigan TL. The Basic of Brain Development. Neuropsychol Rev. 2010. 20(4): 327–348.
6. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://doh.hpc.go.th/data/dspm/TEDA4I_manual.pdf
7. Wyrwoll C. Social Media Fundamentals, Models and Ranking of User – Generated Content. Germany: Springer Vieweg; 2014.
8. Statista. Number of Social Network Users in Thailand from 2017 to 2025; Number of Facebook Users in Thailand from 2017 to 2025 [Internet]. 2021 [Cited 2021 April 26]. Available from: https://www.statista.com
9. World Health Organization. Telehealth [Internet]. 2016 [Cited 2021 April 22]. Available from: https://www.who.int/gho/goe/telehealth/en/
10. American Telemed Association. ATA Member Groups are a Great Way to Connect and Get Involved [Internet]. 2021 [Cited 2021 April 22]. Available from:
https://www.americantelemed.org/member-groups/special-interest-groups/
11. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล. รับมือโควิด-19 ด้วย Telehealth: ความเป็นไปได้และข้อจำกัด [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/telehealth/
12. Creswell JW, Poth CN. Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing among Five Approaches. Canada: Sage Publications; 2016.
13. ชนิสา เวชวิรุฬห์. เครื่องมือทดสอบพัฒนาการเด็ก. วารสารราชานุกูล. 2550; 22(1): 25–26.
14. George S, Hamilton A, Baker RS. How do low-income urban African Americans and Latinos Feel about Telemedicine? A Diffusion of Innovation Analysis. International Journal of Telemedicine and Applications. 2012 Jan 1. [PubMed].
15. Hay-Hansson AW, Eldevik S. Training Discrete Trials Teaching Skills Using Videoconference. Research in Autism Spectrum Disorders. 2013; 7(11): 1300-1309.
16. Heitzman-Powell LS, Buzhardt J, Rusinko, LC, Miller TM. Formative Evaluation of an ABA Outreach Training Program for Parents of Children with Autism in Remote Areas. Focus on Autism and Other Developmental Disabilities. 2014; 29(1): 23-38.
17. Levin K, Madsen JR, Petersen I, Wanscher CE, Hangaard J. Telemedicine Diabetes Consultations are Cost Effective, and Effects on Essential Diabetes Treatment Parameters are Similar to Conventional Treatment: 7-year Results from the Svendborg Telemedicine Diabetes Project. Journal of Diabetes Sciences and Technology. 2013; 7(3): 587–595.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27