การแนะนำโภชนาการอาหารสำหรับผู้สูงอายุด้วยโปรแกรมประยุกต์บนมือถือ
คำสำคัญ:
การแนะนำโภชนาการ, การพยาบาลผู้สูงอายุ, โปรแกรมประยุกต์บนมือบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือ วัตถุประสงค์เพื่อแนะนำโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับคุณลักษณะบุคคลของผู้สูงอายุและเพิ่มทางเลือกในการรับประทานอาหาร โดยโปรแกรมประยุกต์บนมือถือมีหลักการทำงานดังนี้ 1) การคำนวณแคลอรี่ประจำวัน และค่าอื่น ๆ ที่เหมาะสม 2) การแนะนำรายการอาหารด้วยการใช้หลักการ K-Nearest Neighbor (KNN) และการแนะนำการออกกำลังกายตามข้อจำกัดของร่างกาย 3) การบันทึกรายการอาหารและน้ำดื่มประจำวัน 4) รายงานภาพรวมของการดูแลโภชนาการของตนเอง ระบบที่พัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์บนมือถือบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ผลการทดลองใช้โปรแกรมทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างของผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน จากการทำแบบประเมินพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถแนะนำโภชนาการอาหารได้อย่างดี มีความพึงพอใจของภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.25) โดยผู้สูงอายุสามารถเลือกอาหารที่เหมาะสม ทั้งปริมาณ แคลอรี่ และคุณค่าทางโภชนาการได้ด้วยตนเอง ซึ่งส่งผลดีหากรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพควบคู่กับออกกำลังกาย จำกัดปริมาณในการรับประทาน และได้รับสารอาหารครบถ้วนในแต่ละวันจะส่งผลให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ชวิศา แก้วอนันต์. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562;12(2):112-9.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. อยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ศักดิ์ชาย ควรระงับ. กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวของบุคลากรของมหาวิทยาลัยพายัพ. พยาบาลสาร 2557;41(1):85-95.
พิริยฉัตร คณานุรักษ์, กัลยา สร้อยสิงห์, เกษมสุข เขียวทอง, ธนวันต์ พัฒนสิงห์, จีน่า ซัมเมอร์ส, จิราพร ธรรมสุขเสรี. พฤติกรรมการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 2563;14(3):548-63.
พิมลอร ตันหัน. แนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;10(3):55-62.
จันทร์จิราพร ทองประสิทธิ์, ทิพยา จินตโกวิท. พฤติกรรมของผู้สูงอายุในการใช้แอปพลิเคชันไลน์บนสมาร์ตโฟน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2563;30(1):118 -29.
ใหมมูน๊ะ สังขาว, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาและระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(1):84-100.
น้ำเพ็ญ พรหมประสิทธิ์, สุภาวดี มากอ้น, สมชาย ตุละ. แอปพลิเคชันแนะนำการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุบนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 11 วันที่ 24-25 ตุลาคม 2562. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.กรุงเทพฯ; 2562. หน้า 38-42.
รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์. โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563;29(2):230-9.
ประกายเพชร วินัยประเสริฐ, จิณพิชญ์ชา มะมม. การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยคำนวณอาหารที่จำเป็นต่อวัน (NuTu-App) เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562;27(3):485-98.
ปาลิตา แสงศิริ. ระบบแนะนำร้านอาหารอัตโนมัติบนสมาร์ทโฟนโดยใช้ข้อมูลเชิงตำแหน่งและรายการอาหาร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา; 2561.
Fouzi H, Abdelhafid Z, Mohamad MH and Ying S. Road Traffic Modeling and Management: Using Statistical Monitoring and Deep learning. Amsterdam. Elsevier; 2022.
ศุภนิธิ ขำพรหมราช. การพัฒนาโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อลดไขมันโดยมีผู้ฝึกสอนส่วนตัว [อินเทอร์เน็ต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 ส.ค. 2565]. เข้าถึงจาก: http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1629883485.pdf
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. อาหารนุ่ม..เมนูอร่อยเพื่อสุขภาพผู้สูงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนดพับลิสซิ่ง จำกัด; 2561.
สุวิมล ทรัพย์วโรบล. โภชนาการกับการควบคุม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬา; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ