ระบบวัดค่าจุดศูนย์กลางความดันแบบเวลาจริงสำหรับประเมินความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พุฒิพงศ์ ขุนทรง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • พงศกร บำรุงไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ประภาพรรณ เกษราพงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ทรงชัย จิตภักดีบดินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • กิตติพงษ์ เยาวาจา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • รุ้งเพชร สงวนพงษ์ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • น้ำผึ้ง ปุญญนิรันดร์ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

การประเมินความสามารถในการทรงตัว, ค่าจุดศูนย์กลางความดัน, อุปกรณ์ตรวจวัดแรงกด, การทรงตัวขณะยืนนิ่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาระบบวัดค่าจุดศูนย์กลางความดัน (Center of pressure, COP) แบบเวลาจริงเพื่อประเมินความสามารถในการทรงตัวขณะยืนนิ่งในผู้สูงอายุ ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนโครงสร้างและส่วนโปรแกรม โดยส่วนโครงสร้างมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแรงกดจำนวน 2 อัน เพื่อรับรู้ค่าแรงกดที่เท้าแต่ละข้างของผู้รับการประเมินในขณะยืนบนอุปกรณ์ดังกล่าว โดยข้อมูลสามารถจัดเก็บเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ซึ่งระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองสามารถปรับตามระยะห่างระหว่างเท้าได้ ส่วนโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้แสดงค่าการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของแรงกดและค่าจุดศูนย์กลางความดันเพื่อใช้ประเมินความสามารถในการทรงตัวแบบเวลาจริง ผลลัพธ์ของการประเมินพร้อมด้วยข้อมูลของผู้รับการประเมินจัดเก็บอยู่ในไฟล์คอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถนำมาใช้ติดตามผลและวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ ผลการทดสอบกับผู้สูงอายุจำนวน 30 คน แสดงว่าค่าร้อยละอัตราส่วนความดันของเท้าซ้ายและเท้าขวาที่ได้จากระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นสอดคล้องกับร้อยละอัตราส่วนน้ำหนักเท้าซ้ายและเท้าขวาจากเครื่องชั่งน้ำหนักระบบเดิม โดยมีค่าความแตกต่างเฉลี่ยที่ร้อยละ 5.54 และระยะเยื้องค่าศูนย์กลางความดันที่วัดได้มีความสัมพันธ์กับค่าอัตราส่วนความแตกต่างการลงน้ำหนักเท้าเป็นสมการเชิงเส้น โดยสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.94 รวมทั้งผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแสดงให้เห็นถึงความพึงพอใจที่สูงกว่าระบบเดิมที่ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักในทุกด้าน อันได้แก่ การใช้งานที่ง่ายและดีขึ้น การแสดงผลที่ชัดเจนและรวดเร็ว รวมถึงสามารถบันทึกข้อมูลได้

References

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2557.

ชมพูนุช พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2556.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564.

ปริศนา รถสีดา. การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2561;11(2):15-25.

Thierry P, Frédéric N. Techniques and Methods for Testing the Postural Function in Healthy and Pathological Subjects. BioMed Res Int 2015;2015:1–15.

Samir B, Mokhtar A, Youcef R. Force platform for postural balance analysis. In: 2012 11th International Conference on Information Science, Signal Processing and their Applications (ISSPA) 2-5 July 2012; Montreal, Canada; 2012. p. 854-8.

Octavian AP, Pedro SG, Alberto L, Francisco JF, José MDP, Gabriela P. Postural balance analysis using force platform for K-theragame users. In: 2016 IEEE International Symposium on Medical Measurements and Applications (MeMeA) 15-18 May 2016; Benevento, Italy; 2016. p. 1-6.

Baoliang C, Peng L, Feiyun X, Zhengshi L, Yong W. Review of the Upright Balance Assessment Based on the Force Plate. Int J Environ Res Public Health 2021;18(2696):1-14.

Lorcan W, Barry RG, Denise M, Adrian B, Brian C. Development and Validation of a Clinic Based Balance Assessment Technology. In: 33rd Annual International Conference of the IEEE EMBS 30 August - 3 September 2011; Boston, USA; 2011. p. 1327-30.

Hussein AG, Serge M, Jean-Marc G. A real time study of the human equilibrium using an instrumented insole with 3 pressure sensors. In: 2014 36th Annual International Conference of the IEEE Engineering in Medicine and Biology Society 26-30 August 2014; Chicago, USA; 2014. p. 4968-71.

Amit KV, Srinivas P, Anoop KG, Sneh A, Sunil L, Deepak J. An instrumented flexible insole for wireless COP monitoring. In: 2017 8th International Conference on Computing, Communication and Networking Technologies (ICCCNT) 3-5 July 2017; Delhi, India; 2017. p. 1-5.

Martin GJ. Assessment of postural balance in community dwelling older adults. Dan Med J 2014;61(1):1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07