การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวอาบน้ำจากผงถ่านกะลามะพร้าวผสมน้ำมันมะพร้าวชนิดสกัดเย็น

ผู้แต่ง

  • Narakorn Srisuk สาขาชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • Sani Jirasatid ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

น้ำมันมะพร้าวชนิดสกัดเย็น, ผงถ่านกะลามะพร้าว, สบู่เหลว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสบู่เหลวจากผงถ่านกะลามะพร้าวผสมน้ำมันมะพร้าวชนิดสกัดเย็นเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มีในชุมชน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ตัวอย่าง สบู่เหลวแปรผันผงถ่านที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0, 5, 10, 15 และ 25 w/v ผสมน้ำมันมะพร้าวชนิดสกัดเย็นร้อยละ 10 v/v และศึกษาคุณภาพทางกายภาพ-เคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ คุณภาพด้านจุลินทรีย์ และการทดสอบทางประสาทสัมผัส จากการศึกษาคุณภาพทางกายภาพ-เคมีของผลิตภัณฑ์สบู่เหลว ผลการทดลองพบว่า มีค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 77, 1 และ 5 ตามลำดับ เมื่อเติมผงถ่านจากกะลามะพร้าวส่งผลทำให้ค่า L* ลดลง (pgif.latex?\leq0.05) ขณะที่ค่า a* และ b* เพิ่มขึ้น (pgif.latex?\leq0.05) สบู่เหลวทุกตัวอย่างมีค่า pH แปรผันอยู่ระหว่าง 9.11-9.46 และการผสมผงถ่านและน้ำมันมะพร้าวชนิดสกัดเย็นไม่มีผลกระทบต่อการแยกตัวของสบู่เหลว จากการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผงถ่าน พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระร้อยละ 4.56 ขณะที่ตัวอย่างควบคุมไม่แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อนำผงถ่านร้อยละ 5, 10, 15, 20 และ 25 w/v มาเป็นส่วนผสมของสบู่แหลวผสมกับน้ำมันมะพร้าวชนิดสกัดเย็นร้อยละ 10 v/v พบว่า ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแปรผันอยู่ระหว่างร้อยละ 28.64-30.48 โดยสบู่เหลวผสมผงถ่านจากกะลามะพร้าวที่ความเข้มข้นร้อยละ 15 w/v ผสมกับน้ำมันมะพร้าวชนิดสกัดเย็นร้อยละ 10 v/v มีคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุดเท่ากับ 6.91 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน และตัวอย่างมีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดเท่ากับ 390 โคโลนีต่อ 1 กรัมของตัวอย่าง และไม่พบเชื้อ Staphyloccous aureus, Candida albicans และ Clostridium sp. ซึ่งมีคุณภาพด้านจุลินทรีย์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฉบับที่ 1543 พ.ศ. 2552 (มผช. 95/2552)

References

Zhang D, Huo P, Liu W. Separation science and engineering: Behavior of phenol adsorption on thermal modified activated carbon. Chin J Chem Eng 2016;24:446-52.

กานต์ วิรุณพันธ์, ธนารักษ์ สายเปลี่ยน, ภาคภูมิ ใจชมพู. การผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ในการผลิต ข้าวหลาม. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2560;2(1):1-15.

กัญรัตน์ ม่านเขียว, อุทัยวรรณ บุญจันทร์, นภัสกร มาตเมฆ, สิวเรศ ไพโรจน์, นันทวรรณ เอนกอนันต์, มนฑา หมีไพรพฤกษ์, ปรีชา ปัญญา, ณัฐภาณี บัวดี. ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การดูดซับสารโครเมียม (VI) ปริมาณค่าความเป็นกรด-ด่าง และความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อสบู่ชาร์โคลไม้ไผ่. วารสาร สทวท 2560;4(2):99-107.

บุญรัก ลาดสูงเนิน, สมิต อนิทร์ศิริพงษ์. การผลิตและการทดสอบสมบัติกายภาพของถ่านอัดแท่งจากเปลือกมะพร้าว. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ระบบเกษตรแห่งชาติ 2556;8:201-7.

Suliman W, Harsh JB, Abu-Lail NI, Fortuna AM, Dallmeyer I, Garcia-Perez M. Modification of biochar surface by air oxidation: Role of pyrolysis temperature. Biomass & Bioenergy 2016;85:1-11.

Nandeshwar SN, Mahakalakar AS, Gupta RR, Kyzas GZ. Green activated carbons from different waste materials for the removal of iron from real wastewater samples of Nag River, India. J Mol Liq 2016;216:688-92.

Asadullah M, Jahan I, Ahmed MB, Adawiyah P, Malek NH, Rahman MS. Preparation of microporous activated carbon and its modification for arsenic removal from water. J Ind Eng Chem 2014;20:887-96.

เจษฎา รัตนวุฒิ. ผลของการเสริมผงถ่านไม้ไผ่ร่วมกับน้ำส้มควันไม้ในอาหารต่อสมรรถภาพคุณภาพเปลือกไข่ การเปลี่ยนแปลงของวิลไลและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในล้ำไส้ของไก่ไข่ในระยะสุดท้ายของการให้ผลผลิต. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

กฤตชน วงศ์รัตน์, โสภาพร กล่ำสกุล, กนกพร บุญธรรม. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวสูตรเข้มข้นน้ำมันมะพร้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชนบ้านแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร ววพ 2565;17(1):63-73.

ธนาศักดิ์ รักษ์มณี, นันทวรรณ กระจ่างตา, ยุทธพงศ์ โลไธสงค์, กษิตินษ์ นันทวิสุทธิ์, บุรฉัตร เรืองดิษฐ์. ประสิทธิภาพของสารสกัดโมโนกลีเซอร์ไรด์จากน้ำมันมะพร้าวกลั่นบริสุทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของราแคนดิดา อัลบิแคนส์ ที่ดื้อต่อยา ฟลูโคนาโซลในห้องปฏิบัติการ. วารสาร ววท 2563;28(4):688-704.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสบู่เหลว. [อินเตอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps95_52.pdf

AOAC association. Officail Methods of Analysis of AOAC International. 17th ed. Gaithersburg: Association of Official Analytical Chemists, Inc.; 2000.

Karagozler A, Eedag B, Emek YC, Uygun DA. Antioxidant activity and proline content of leaf extracts from Dorystoechas hastata. Food Chem 2008;111:400-7.

ธารหทัย มาลาเวช, ชลิตา พุฒขาว, อารีรัตน์ จันทบูรณ์, สิทธิศักดิ์ เครือจันทร์, ธัญยวัฒน์ สายเท้าเอี้ยน, ภูวนัย อุ้มเพชร. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่เหลวสมุนไพรจากกระสัง. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ วลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 11 วันที่ 27-28 มีนาคม 2562. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช; 2562. หน้า 1-7.

รุ่งเรือง งาหอม, จินดาพร สืบขำเพชร, คณิตตา ธรรมจริยวงศา. การศึกษาปริมาณและประเภทของดอกไม้จากศาลหลักเมืองจังหวัดบุรีรัมย์และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ถักทองานวิจัยท้องถิ่นก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 10 วันที่ 7-8 สิงหาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา; 2561. หน้า 1224-34.

สุรชัย อุตมอ่าง, นิรมล อุตมอ่าง, รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. การยอมรับและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2558;7(13):187-99.

BAM. Bacteriological Analytical Manual–Chapter 23. Microbiological Methods for Cosmetics [Internet]. 2017 [cited 2022 February 15]. Available from: http://www.fda.gov.com

ศตพล มุ่งค้ำกลาง. การหาประสิทธิภาพแท่งเชื้อเพลิงจากถ่านกะลามะพร้าวและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการประกอบอาหาร. วารสาร เทพสตรี I-TECH 2559;11(1):59-67.

ปานทิพย์ รัตนศิลปกัลชาญ, เกตุแก้ว จันทร์จำรัส, ภรณ์ทิพย์ นราแหวว, อุมาภรณ์ ผ่องใส. การพัฒนาสบู่เหลวจากสมุนไพรไทยและทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นในการต้านทานต่อเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA). วารสาร มฉก. วิชาการ 2557;18(35):47-60.

จุฑาภรณ์ ผลไพบูลย์. การหาปริมาณกรดลอริกและกลีเซอไรด์ที่สัมพันธ์กันในน้ำมันมะพร้าวดัดแปรโดยใช้จีซี-เอฟไอดี

และเอชพีแอลซี-อีแอลเอสดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ; 2557.

สมฤดี สังขาว, อทิตยา ขวัญวงศ์, นงนุช ขอนทอง, เกศินี ใจดี, ณัฐฐินันท์ ชำรวย, อาภรณ์ พาชัย, มณฑา หมีไพรพฤกษ์, ณัฐภานี บัวดี. ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณวิตามินซีและความพึงพอใจของสบู่ว่านหางจระเข้ผสมน้ำผึ้ง: สมุนไพรพญาไพร อำเภอเมือง กำแพงเพชร. วารสาร สทวท 2560;4(1):119-25.

ปัญญา มณีจักร. การเตรียมถ่านกัมมันต์ราคาถูกโดยการเผาด้วยความร้อนในเครื่องเผาอับอากาศเพื่อกำจัดเหล็ก (III). วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2560;6(2):72-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07