ความหลากหลายของพืชที่มีท่อลำเลียงในแปลงรวบรวมพันธุ์พืชป่าชายหาดโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ป่าทุ่งใสไช อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ป่าชายหาด, โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช , ความหลากหลายของพืชบทคัดย่อ
ป่าชายหาดเป็นแหล่งทรัพยากรพันธุ์พืช ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ตลอดจนเป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร และไม้ใช้สอย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากหลายของพันธุ์พืชที่มีท่อลำเลียง ในพื้นที่ป่าชายหาดทุ่งใสไช อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 โดยการบันทึกภาพถ่าย พิกัดภูมิศาสตร์ จัดทำพรรณไม้แห้ง และระบุชนิด ผลการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกพืชที่มีท่อลำเลียงได้จำนวน 22 วงศ์ 30 สกุล 33 ชนิด โดยวงศ์ที่มีจำนวนมากที่สุดคือวงศ์ Myrtaceae มีจำนวน 3 สกุล 5 ชนิด รองลงมาคือวงศ์ Moraceae มีจำนวน 2 สกุล 3 ชนิด Orchidaceae มีจำนวน 3 สกุล 3 ชนิด Anacardiaceae จำนวน 2 สกุล 2 ชนิด และ Melastomataceae จำนวน 2 สกุล 2 ชนิด นอกจากนี้พืชจำนวน 17 วงศ์ ที่พบพืชเพียงสกุลเดียว คือ Arecaceae (Palmae), Asclepiadaceae, Clusiaceae (Guttiferae), Dilleniaceae, Dipterocarpaceae, Eriocaulaceae, Gentianaceae, Lauraceae, Fabaceae (Leguminosae), Ochnaceae, Olacaceae, Opiliaceae, Pandanaceae, Peraceae, Phyllanthaceae, Schizaea และ Simaroubaceae การใช้ประโยชน์พืชที่พบมีทั้งการใช้ประโยชน์จากไม้ พืชอาหาร และพืชสมุนไพร
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: บริษัท ดู คอนเนคชั่น จำกัด; 2563
กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ข้อมูลพื้นฐานศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ ที่ 256 ป่าท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี) และ สำนักจัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.forest.go.th/preserve/wp-content/uploads/sites/35/2016/12/256-ป่าท่าชนะ-จ.สุราษฎร์ธานี.pdf
Göltenboth F. Ecology of Insular Southeast Asia. 1th ed. Amsterdam: Elsevier; 2006.
เต็ม สมิตินันท์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2544.
Laongpol C, Suzuki K, Katzensteiner K, Sridith K. Plant community structure of the coastal vegetation of peninsular Thailand. Thai Forest Bull, Bot 2014;37:106–33.
Sridith K. The remnants of vegetation on coastal sandbars in Songkhla Province, Peninsular Thailand. Thai Forest Bull, Bot 2002;30:49–58.
Sridith K, Laongpol C. The preliminary study on some natural plant communities of the sandbars along eastern coast of peninsular Thailand. Songklanakarin J Sci Technol 2002;25(1):103–13.
Laongpol C, Suzuki K, Sridith K. Floristic composition of the terrestrial coastal vegetation in Narathiwat, Peninsular Thailand. Thai Forest Bull, Bot 2005;33:44–70.
อุทิศ กุฎอินทร์. นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2542.
วรดลต์ แจ่มจำรูญ. การสำรวจพรรณไม้ป่าชายหาด บริเวณเกาะลันตาและเกาะรอก อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการป่าไม้ 2544;3(1):1-7.
รวีวรรณ ตัณฑวณิช. การเปลี่ยนแปลงของพรรณพืชและสิ่งแวดล้อมตามแนวขวางของป่าชายหาดในอุทยานแห่งชาติ สิรินาถ จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชีววิทยาป่าไม้, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ; 2544.
จำลอง เพ็งคล้าย. ป่าชายหาด. วารสารราชบัณฑิตยสถาน 2545;27(3):799-808.
อรทัย เนียมสุวรรณ, นฤมล เส้งนนท์, กรกนก ยิ่งเจริญ, พัชรินทร์ สิงห์ดํา. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลน และป่าชายหาดบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. ว วิทย มข 2555;40(3):981-91.
Soonthornchareonnon N, Wiwat C, Chuakul W. Biological Activities of Medicinal Plants from Mangrove and Beach Forests. Mahidol Univ J Pharm Sci 2012;39:9-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ