ผลของโยคะต่อสุขภาพกายและจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • สิริทรัพย์ สีหะวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • ศิริพร จันทนสกุลวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • ปิยณัฐ สร้อยคำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุบลราชธานี
  • พฤฒินี นนท์ตุลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โยคะ , สุขภาพกาย, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกโยคะที่มีต่อภาวะสุขภาพกายและจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 20 คน ในพื้นที่ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการฝึกโยคะ ได้แก่ การฝึกหายใจ การฝึกสมาธิ และการฝึกท่าโยคะ ฝึกทั้งหมด 10 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมใช้เวลาทั้งหมดในการฝึกโยคะ 5 สัปดาห์ และ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินสุขภาพจิต ใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suan Prung  stress test) ชุด 20 ข้อ (SPST20) และ 3) แบบประเมินสุขภาพกาย  ซึ่งปรับปรุงจากแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนไทย อายุ 19 - 59 ปี โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการวิจัยโดยใช้สถิติ paired samples t - test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง (M = 36.60, SD = 12.16) ลดลงจากค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง (M = 44.05, SD = 15.20)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.33,  p ‹ .01)  ค่าเฉลี่ยหลังการทดลองของความอ่อนตัว (M = 15.30, SD = 4.87)  เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง (M = 12.20, SD = 5.17)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t = -4.30, p ‹ .01) ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขาหลังการทดลอง (M = 29.05, SD = 3.93)  เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง (M = 25.70, SD = 3.56)   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.36, p ‹ .01) และความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดหลังการทดลอง (M = 115.30, SD = 23.65) เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง (M = 76.05, SD = 31.13) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.67, p ‹ .01)

     

References

Ross A, Friedmann E, Bevans M, Thomas S. National survey of yoga practitioners: Mental and physical health benefits. Complement Ther Med 2013;21(4):313-23.

Johns Hopkins. Benefits of Yoga. Medicine Maryland: The Johns Hopkins University [Internet]. 2021 [cited 2021 June 4]. Available from: https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/9-benefits-of-yoga.

Garfinkel M, Schumacher Jr RH. Yoga. Rheum Dis Clin North Am 2000;26:125-32.

ยรรยงค์ พานเพ็ง, ปรียาวัลย์ ป้องกัน, กวิน บุญประโคน, อาทิตย์ ปัญญาคำ. ประสิทธิผลของการฝึกโยคะอาสนะและการฝึกบอดี้ฟังชันนอลที่มีต่อสุขสมรรถนะในวัยรุ่นหญิงที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2565;1:13-28.

ธนุพร ลาภไธสงค์, ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. ผลของการออกกำลังกายด้วยโยคะในระยะสั้นที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จังหวัดอุดรธานี. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 2565;10:81-100.

เมธาวี แสงสมส่วน, ฑิฆัมพร หอสิริ, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. ผลของการจัดกิจกรรมโยคะต่อสุขภาวะทางจิตและคุณภาพชีวิตในวัยรุ่นตอนต้น. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 47 วันที่ 6-7 ธันวาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2561. หน้า 754-64.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพประชาชน. รายงานจำนวนอสม.จำแนกตามเพศ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/new2020/content/1

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์, เกรียง ตั้งสง่า. ประสบการณ์การทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับบุคลากรสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในช่วงวิกฤติกาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารกรมการแพทย์ 2564;46:5-8.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพประชาชน. รายงานแสดงช่วงอายุของอสม.[อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 4 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00012.php

เกษร เกษมสุข, บังอร ฤทธิ์อุดม. การส่งเสริมพัฒนาการผู้ใหญ่วัยกลางคน : บทบาทของพยาบาล. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2566;17:368-80.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์. การทูตเชิงวัฒนธรรม: โยคะเพื่อการดูแลสุขภาพในประเทศไทย. เอเชียปริทัศน์ 2564;42:63-81.

อนุวัติ คูณแก้ว. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมมาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง 2540;13:1-20.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 19 - 59 ปี. [อินเตอร์เน็ต] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dpe.go.th/manual-preview-411291791796

ยลวรณัฏฐ์ จีรัชตกรณ์. การตรวจสมรรถภาพร่างกาย (Physical Fitness test). [อินเตอร์เน็ต] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1369

Iftekher SNMd, Bakhtiar Md, Rahaman KhS. Effects of yoga on flexibility and balance: a quasi-experimental study. Asian J Med Biol Res 2017;3(2):276-81.

Polsgrove MJ, Eggleston BM, Lockyer RJ. Impact of 10-weeks of yoga practice on flexibility and balance of college athletes. Int J Yoga 2016;9(1):27–34.

Amin DJ, Goodman M. The effects of selected asanas in Iyengar yoga on flexibility: Pilot study. J Bodyw Mov Ther 2014;18(3):399-404.

Singh T, Singh A, Kumar S. Effects of 8 week yoga on muscular strength, muscular endurance, flexibility and agility of female hockey players. RJSSM 2015;5:97-101.

ยุพิน บุญนิธีวนิช. ผลของการฝึกหายใจแบบ SKT 1 ต่อการลดความดันโลหิตในหญิงตั้งครรภ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2561;16:69-80.

Kumar A, Kumar D. Effect of yoga for development of physical fitness of college girls. IRJMST 2014;5(1):34-8.

ณัฐธิดา พระสว่าง, รักชนก คชไกร, ยุพา จิ๋วพัฒนกุล. ผลของสมาธิบำบัด นั่งผ่อนคลาย ประสานกายประสานจิตร่วมกับการรักษาแบบเดิมต่อความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36:33-42.

อรอุมา ปัญญโชติกุล, สุธินา เศษคง และ สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ. ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิต ของผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4:245-55.

บดินทร์ ขวัญนิมิต. การวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮิโมโกลบินจากชีพจรในผู้ใหญ่. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;25:245-52.

พรมงคล ฉันท์รัตนโยธิน. สมาธิและพุทธจิต ช่วยบำบัดความเครียด. วารสารพุทธจิตวิทยา 2561;3:57-64.

สุมนกาญจน์ พฤกษพิทักษ์. การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการฝึกสมาธิเพื่อลดความเครียดของบุคลากรระดับปฏิบัติการ. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม 2562;1:59-68.

อาภรณ์ สิงห์ชาดา, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และสมใจ นกดี. ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดต่อความเครียด ของผู้สูงอายุ. วารสาร มฉก.วิชาการ 2559;19:49-60.

Mohan A, Sharma R, Bijlani RL. Effect of meditation on stress-induced changes in cognitive functions. J Complementary Altern Med 2011;17(3):207-12.

Kao HS, Zhu L, Chao AA, Chen HY, Liu IC, Zhang M. Calligraphy and meditation for stress reduction: an experimental comparison. Psychol Res Behav Manag 2014;7:47–52.

สุปราณีย์ ฟูสุวรรณ, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร และ จรัส สิงห์แก้ว. ปัจจัยทำนายระดับไขมันใน เลือดของผู้ที่มีภาวะ ไขมันในเลือดผิดปกติในชุมชน. พยาบาลสาร 2559;43:79-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21