เปรียบเทียบลักษณะภายนอกและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสลิดในจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • มธุรส อ่อนไทย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • ผุสดี สิรยากร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • อุมา รัตนเทพี สาขาวิชาวิชาวิทยาการคำนวณและเทคโนโลยีดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์ สาขาวิชาวิทยาการคำนวณและเทคโนโลยีดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • เกษม พลายแก้ว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ

คำสำคัญ:

ปลาสลิด, ลักษณะภายนอก, องค์ประกอบทางเคมี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม

บทคัดย่อ

จังหวัดสมุทรปราการมีหนึ่งในผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นได้แก่ “ปลาสลิด” ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศในชื่อของปลาสลิดบางบ่อ โดยปัจจุบันพบว่ามีปริมาณลดลงไปอย่างมาก สาเหตุหลักมาจากพื้นที่เลี้ยงลดลง จึงต้องมีการนำปลาสลิดที่เลี้ยงจากบริเวณจังหวัดใกล้เคียงมาแปรรูปขายแทน ส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความไม่แน่ใจว่าปลาสลิดที่วางขายเป็นปลาสลิดบางบ่อแท้หรือไม่ และปลาสลิดบางบ่อแท้มีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไร งานวิจัยนี้ได้ศึกษาลักษณะภายนอกรวมทั้งปริมาณโปรตีนและไขมันของปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีการเลี้ยงอยู่ในบริเวณ 4 อำเภอ คือ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอเมือง และอำเภอบางเสาธง เปรียบเทียบกับปลาสลิดที่เลี้ยงในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสมุทรสงครามโดยเชื่อมโยงกับวิธีการเลี้ยงและลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าลักษณะภายนอกของปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการในแต่ละอำเภอมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดลำตัวเล็กเรียวยาว ด้วยเหตุที่เลี้ยงโดยใช้อาหารตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ทำให้ต้องแหวกว่ายหาอาหารส่งผลให้มีการสะสมของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีสีตัวออกดำคล้ำซึ่งเข้มกว่าปลาสลิดจากจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาครที่มีสีตัวออกดำเหลืองมีโทนสีเข้มน้อยกว่าและมีขนาดใหญ่อวบอ้วนกว่าเมื่อเทียบกับปลาที่มีอายุการเลี้ยงใกล้เคียงกัน เนื่องจากการเลี้ยงแบบเชิงพาณิชย์ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเป็นหลักทำให้ปลามีการสะสมของไขมัน ในส่วนองค์ประกอบทางเคมีพบว่าปริมาณไขมันในเนื้อปลาสลิดอำเภอบางเสาธงมีปริมาณไขมันน้อยกว่าอำเภอบางพลีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 แต่เมื่อเทียบกับอำเภอที่เหลือในจังหวัดสมุทรปราการพบว่าไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในภาพรวมของจังหวัดพบว่าปริมาณไขมันในเนื้อปลาสลิดของจังหวัดสมุทรปราการมีค่าน้อยกว่าจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดสมุทรสาครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณโปรตีนไม่แตกต่างกันก็ตาม โดยผลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องสำหรับผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อปลาสลิดบางบ่อแท้และใช้เป็นข้อมูลประกอบการยื่นจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในชื่อของปลาสลิดบ่างบ่อ

References

สถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20221125111856_new.pdf

มธุรส อ่อนไทย, ศิริวรรณ ตันตระวาณิชย์, สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา, เกษม พลายแก้ว, ผุสดี สิรยากร, อุมา รัตนเทพี, และคณะ. การพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อยกระดับให้ได้มาตรฐาน GAP. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2562. สัญญาเลขที่ RDG61A0016-11. สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

มธุรส อ่อนไทย, กรรณิการ์ แก้วกิ้ม, วัลวิภา เสืออุดม, ตติภรณ์ ภัทรานุรักษ์โยธิน, ครรชิต จุดประสงค์. ผลของอาหาร แพลงก์ตอน คุณภาพน้ำและดิน ต่อคุณลักษณะทางโภชนาการและแร่ธาตุในปลาสลิดจากแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทย. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2561. สัญญาเลขที่ RDG60A0013-02. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรดินรายจังหวัด [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 21 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://dinonline.ldd.go.th/

ศุภกานต์ ศรีโสภาเจริญรัตน์. ปัญหาการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรณีปลาสลิดบางบ่อ. สารนิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี; 2558.

Latimer GW Jr. Official Methods of Analysis of AOAC International. 20th ed. Rockville: AOAC International; 2016.

เพ็ญพักตร์ มูลธิยะ, พัชรี กัมมารเจษฎากุล, ปัญจพร นิ่มมณี, ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ, อิสสริยา เอี่ยมสุวรรณ. การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยาของปลาสลิดบางบ่อกับปลาสลิดแหล่งอื่นในประเทศไทย. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2561. สัญญาเลขที่ RDG60A0013-01. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

นํ้าผึ้ง มีศิล. เอกลักษณ์ของปลาสลิดจังหวัดสมุทรปราการในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ. ใน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ; 2561. หน้า 746-73.

เวียง เชื้อโพธิ์หัก. โภชนศาสตร์และการให้อาหารสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2542.

พิเชต พลายเพชร, มนทกานติ ท้ามติ้น, สิริพร ลือชัย ชัยกุล, จีรรัตน์ เกื้อแก้ว, เพ็ญศรี เมืองเยาว์, นงลักษณ์ สำราญราษฎร์, และคณะ. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อของปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงด้วยปลาสดและอาหารสำเร็จรูป. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46: สาขาประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ; 2551. หน้า 156-66.

ชลันดา กำเหนิดดี, ภูษณ แก้วคง, สมหมาย เชี่ยววารีสัจจะ. ผลของสีตู้เลี้ยงต่อการเจริญเติบโตและสีผิวหนังของปลากระดี่นางฟ้า. วารสารวิจัย มทร.ศรีวิชัย 2564;13(2):259-68.

ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา ปลาสลิดบางบ่อ เป็นสินค้าขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ipthailand.go.th/th/gi-011/item/163-สช-64100163-ปลาสลิดบางบ่อ.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21