คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ ความเป็นพิษต่อเซลล์และการทำให้ดินสอพองปราศจากเชื้อ

ผู้แต่ง

  • วิชาญ จันทร์วิทยานุชิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • ปวีณา ว่องตระกูล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • พรปวีร์ โพนสิม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • สมหญิง งามอุรุเลิศ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • สุวรรณา เสมศรี คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ
  • อิสยา จันทร์วิทยานุชิต คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ สมุทรปราการ

คำสำคัญ:

ดินสอพอง, คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ, ความเป็นพิษต่อเซลล์, การทำให้ปราศจากเชื้อ

บทคัดย่อ

ดินสอพองหรือดินมาร์ลเป็นผงละเอียดสีขาวพบมากที่จังหวัดลพบุรี มีคุณสมบัติเป็นด่าง pH 8.3 ± 0.01 มีความหนาแน่นรวม 1.000±0.076 กรัมต่อมิลลิลิตร ความชื้น 0.81±0.097 กรัมต่อมิลลิลิตร เวลาในการดูดซับน้ำมัน 0.24±0.026 นาที และความสามารถในการดูดซับน้ำมัน 0.42±0.02 กรัมต่อกรัม การศึกษาการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในดินสอพองด้วยตู้อบลมร้อน พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในดินสอพอง คืออบที่อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ซึ่งเป็นวิธีการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนที่สะดวกและมีประสิทธิภาพสูง การศึกษาความเป็นพิษของดินสอพอง โดยใช้เซลล์ผิวหนังเพาะเลี้ยง HaCaT พบว่าที่ระดับความเข้มข้น 500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ดินสอพองไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และเมื่อนำดินสอพองที่มีการลดขนาดอนุภาคไปศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ พบว่าดินสอพองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในช่วง 3-15 ไมโครเมตร ยังคงไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ดินสอพองมีคุณสมบัติทางเคมีกายภาพที่ดี ราคาถูก จึงเหมาะที่จะนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์

References

สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ดินสอพอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

López GA, Viseras C. Pharmaceutical and cosmetic applications of clays. In: Wypych F, Satyanarayana

KG, editors. Clay Surfaces. Fundamentals and Applications. Amsterdam: Elsevier; 2004.

López GA, Viseras C, Cerezo P. Compositional, technical and safety specifications of clays to be used as pharmaceutical and cosmetic products. Appl Clay Sci 2007;36:51-63.

The United States Pharmacopeia. Bulk density and tapped density of powders. In: United States Pharmacopeia Convention Committee of Revision, editors. United States Pharmacopeia - National Formulary 35th ed. Rockville MD: United States Pharmacopeial Convention; 2012.

American Society for Testing and Materials. Standard test method for oil absorption of pigments by spatula rub-out [Internet]. 2002 [cited 2022 Apr 4]. Available from: https://www.kelid1.ir/FilesUp/ASTM_STANDARS_971222/D281.PDF

Jo Huang, Hitchins A, Tran T, McCarron J. Bacteriological analytical manual (BAM) for cosmetics [Internet]. 2017 [cited 2022 Jan 12]. Available from: https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-23-methods-cosmetics

ASEAN Cosmetic Testing Laboratory Committee. Enumeration of aerobic mesophilic bacteria, yeast and mould [Internet]. 2013 [cited 2022 Jan 12]. Available from: https://asean.org/wp-content/uploads/2012/10/ACM-006-Enumeration-Micro_Final-Version-2017.pdf

Mosmann T. Rapid colorimetric assay for cellular growth and survival application to proliferation and cytotoxicity assays. J Immunol Method 1983;65:1017-23.

ดวงใจ อินทร์ลี, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพอกหน้า “งามผิวหน้าตํารับวังสวนสุนันทา”. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 7 วันที่ 25-26 มีนาคม 2559; กรุงเทพฯ; 2559. หน้า 2776-92.

กุลชลี พวงเพ็ชร, โสพิศ คำนวณชัย, เสาวณีย์ ศรีกาณจนารักษ์, ภาณุภัณฑ์ เพิ่มเปี่ยม. การพัฒนาไข่เค็มของกลุ่มอาชีพไข่เค็มใบเตยดินสอพอง ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ 2563;21(2):167-83.

อรุณี เจริญทรัพย์, หนึ่งฤทัย แจ้งสุวรรณ์, จิราวรรณ ฉายาวัฒน์. การประยุกต์ใช้ดินสอพองในงานหัตถศิลป์ไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2563;7(2):599-612.

มณีรัตน์ น้ำจันทร์, มนธิญา ยิ้มชื่น, ชวิศา ทองคำ, ผกามาศ โตชม, ธนิตา บุญมี, วิชญสิทธิ์ อินทกุศล. การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาจากดินสอพองสำหรับการผลิตไบโอดีเซล. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561;13(2):84-98.

Benjatikul K, Mahamongkol H, Wongtrakul P. Sunscreen properties of marl. J Oleo Sci 2020;69(1):73-82.

สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 453/2560 ดินสอพองแปรรูป. กรุงเทพฯ: 2560.

ดวง ทองคำซุ่ย, นฤมล พินเนียม ชนะไพฑูรย์, วิไล ทองแผ่, รัศมี แสงศิริมงคลยิ่ง. การพัฒนาเครื่องฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในดินสอพองด้วยพลังงานแสงอาทิตย์. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 6 วันที่ 8-9 ธันวาคม 2552; นครปฐม; 2552. หน้า 498-506.

นฤมล เนรมิตมานสุข, กาญจนา ชาหอม. ดินสอพองปลอดภัยมากขึ้นเมื่อผ่านการฉายรังสีแกมมา. ศูนย์ฉายรังสีสถาบันเทคโนโลยี นิวเคลียร์แห่งชาติ [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tint.or.th/download/service/10.3_Article3706.pdf

Obayes SAS. Hot air oven for sterilization: definition & working principle [Internet]. 2019 [cited 2023 May 26]. Available from: https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3340325

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21