การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่าย จากกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
สารอินทรีย์ระเหยง่าย, ขยะมูลฝอยชุมชน, สถานที่กำจัดขยะแบบเทกองกลางแจ้ง, การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ในบริเวณสถานที่กำจัดขยะแบบเทกองกลางแจ้ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสสารกลุ่มบีเทค (BTEXs) โดยใช้อุปกรณ์ครอบวัดฟลักซ์ชนิดวางติดอยู่กับที่ (Static Flux Chamber) วิเคราะห์ด้วย Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) และ Gas Chromatography-Flame Ionization Detector (GC-FID) ผลการวิเคราะห์สารอินทรีย์ระเหยง่าย 83 ชนิด จำแนกตามโครงสร้างสารประกอบออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ แอลเคน แอลคีน แอลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน และฮาโลจิเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน พบความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดของสารอินทรีย์ระเหยง่าย 5 อันดับ ดังนี้ โทลูอีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เอน-โนเนน ไตรคลอโรเอทิลีน และไอโซพรีน (1376.23±1219.09, 1248.40±825.41, 1229.72±424.29, 1144.63±913.63 และ 1135.22±449.81 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ) พบความเข้มข้นสารกลุ่มบีเทคในแต่ละบริเวณที่เก็บตัวอย่างทุกชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงการรับสัมผัสสารกลุ่มบีเทค พบความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารชนิดก่อมะเร็ง ในเพศชายมีค่าเท่ากับ 3.74x10-5 และ 4.53x10-5 แต่ไม่พบความเสี่ยงของสารชนิดที่ไม่ก่อมะเร็ง ยกเว้นเบนซีนที่พบค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด จึงควรมีแนวทางการป้องกันและเฝ้าระวังที่เหมาะสม เพื่อให้จัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้อย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะ
มูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/publication/29509
Chiemchaisri C, Juanga JP, Visvanathan C. Municipal solid waste management in Thailand and disposal emission inventory. Environ Monit Assess 2007;135:13-20.
Schultz PW, Shriver C, Tabanico JJ, Khazian AM. Implicit connections with nature. J Environ Psychol 2004;24(1):31-42.
Deviatkin I, Horttanainen M, Havukainen J. Encyclopedia of Sustainable Management. Switzerland: Springer; 2021.
Andreae MO, Crutzen PJ. Atmospheric aerosols: Biogeochemical sources and role in atmospheric chemistry. Science 1997;276(5315):1052-8.
กิตติ ชยางคกุล. ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอย: ศึกษากรณีการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. EAU Heritage 2555;2(1):154-65.
US Environmental Protection Agency. Risk-assessment guidance for superfund. Volume 1. Human health evaluation manual Part A. Washington, D.C.: Office of Emergency and Remedial Response; 1989.
Chiemchaisri C, Chiemchaisri W, Boocha M, Chomsurin C, Urase T, Takemura J. Evaluation of volatile organic compounds emission from solid waste disposal site in Thailand. In: proceedings of 12th International Joint Seminar on Regional Deposition Processes in the Atmosphere; November 13, 2006; Peking University, China. Beijing: Peking University Publisher; 2006.
ศิวพันธุ์ ชูอินทร์. การเก็บตัวอย่างและตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
วิชชากร จารุศิริ. การจัดการของเสียอันตรายและกากอุตสาหกรรม (Hazardous and Industrial Waste Management). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อัพทูยู เซอร์วิส; 2561.
Roberts SM, Teaf CM, Bean JA. Hazardous waste incineration: Evaluating the human health and environmental risks. Florida: CRC Press; 1998.
Bortey-Sam N, Nakayama SM, Ikenaka Y, Akoto O, Baidoo E, Yohannes YB, Mizukawa H, Ishizuka M. Human health risks from metals and metalloid via consumption of food animals near gold mines in Tarkwa, Ghana: Estimation of the daily intakes and target hazard quotients (THQs). Ecotoxicol Environ Saf 2015;111:160-7.
Gutiérrez AJ, Rubio C, Moreno IM, González AG, Gonzalez-Weller D, Bencharki N, Hardisson A, Revert C. Estimation of dietary intake and target hazard quotients for metals by consumption of wines from the Canary Islands. Food Chem Toxicol 2017;108:10-8.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการ เรื่อง สารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 30 พ.ศ. 2550 เรื่องกำหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี กรมควบคุมมลพิษ [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 13 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/laws/2810
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง กําหนดค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง กรมควบคุมมลพิษ [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 13 ธ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pcd.go.th/laws/4134
Ighodaro A, Anegbe B, Okuo JM. Emission levels of volatile organic compounds from open dumpsite in Benin Metropolis. NJAS 2015;33:253-64.
Wu C, Liu J, Zhao P, Li W, Yan L, Piringer M, Schauberger G. Evaluation of the chemical composition and correlation between the calculated and measured odor concentration of odorous gases from a landfill in Beijing, China. Atmos Environ 2017;164:337-47.
Chiriac R, Carre J, Perrodin Y, Fine L, Letoffe JM. Characterization of VOCs emitted by open cells receiving municipal solid waste. J Hazard Mater 2007;149(2):249-63.
นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์, คณิตา ตังคณานุรักษ์. เคมีบรรยากาศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.
Khademi F, Samaei MR, Shahsavani A, Azizi K, Mohammadpour A, Derakhshan Z, Giannakis S, Rodriguez-Chueca J, Bilal M. Investigation of the presence volatile organic compounds (BTEX) in the ambient air and biogases produced by a shiraz landfill in southern Iran. Sustainability 2022;14(2):1-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ