การเพิ่มประสิทธิภาพตัวแบบการพยากรณ์ตามกฎด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มสำหรับพยากรณ์ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • อภินันท์ จุ่นกรณ์ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • มงคล รอดจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • พุฒิยา รัตนศิริวัฒน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

ตัวแบบตามกฎ, การเรียนรู้แบบรวมกลุ่ม, การมีงานทำของบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพตัวแบบการพยากรณ์ตามกฎที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคนิคแบบรวมกลุ่มสำหรับพยากรณ์ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต การพยากรณ์ตามกฎที่นำมาใช้เปรียบเทียบในงานวิจัย จำนวน 4 เทคนิค  ได้แก่ MODELM, PART, J48 และ Random Trees ได้เพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์ตามกฎด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบรวมกลุ่มที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้ คือ Boosting Method แบบ AdaBoost  ใช้ 10-fold cross validation ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นชุดข้อมูลสอนและชุดข้อมูลทดสอบ และได้ใช้ค่าความถูกต้อง ค่าความแม่นยำ ค่าความระลึก และค่าความถ่วงดุล  ในการวัดประสิทธิภาพการพยากรณ์ของตัวแบบ ผลการทดลองพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพตัวแบบการพยากรณ์ตามกฎด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบรวมกลุ่ม สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ตัวแบบเพิ่มขึ้นในทุกเทคนิคที่ได้นำมาเปรียบเทียบ สรุปได้ว่าค่าความถูกต้องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.99  ค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.90 ค่าความระลึกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย   ร้อยละ 7.05 และค่าความถ่วงดุลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.15 โดยที่ตัวแบบพยากรณ์จากอัลกอริทึม J48 ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้วยวิธี AdaBoost เป็นตัวแบบที่มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์สูงที่สุด โดยมีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 89.47 ค่าความแม่นยำเท่ากับร้อยละ 89.50 ค่าความระลึกเท่ากับร้อยละ  89.50 และค่าความถ่วงดุลเท่ากับร้อยละ 89.50

References

จรัสศรี รุ่งรัตนาอุบล. เทคนิคเหมืองข้อมูล (DATA MINING TECHNIQUES). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2566.

ปริญญา ชินจอหอ, สายสุนีย์ จับโจร, เบญจภัค จงหมื่นไวย์. การพัฒนาตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการคาดการณ์อาชีพอนาคตของบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิชาการ TM 2564;8(2):20–32.

สำราญ วานนท์, ธรัช อารีราษฎร์, จรัญ แสนราช. การศึกษาเทคนิคพยากรณ์อาชีพสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล. วารสารวิชาการ TM 2561;5(1):164–71.

สายชล สินสมบูรณ์ทอง. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำนายผลค่านอกเกณฑ์ด้วยการจำแนก 6 วิธี. TJST 2020;9(3): 255–68

วราริญทร์ ปัญญาวงษ์. การประยุกต์ใช้ตัวแบบกฎการพยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการทำเหมืองข้อมูล. JADC 2020;2(2):109-19.

นนทวัฒน์ ทวีชาติ, อรยา เพ็งประจญ, วิไลรัตน์ ยาทองไชย, ชูศักดิ์ ยาทองไทย. ระบบทำนายการพ้นสภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2563;4(1):47–60.

ปพิชญา กลางนอก, จารี ทองคำ. การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตัวแบบตามกฎในเหมืองข้อมูล. Journal of Ind Tech UBRU 2562;9(1):97–108.

ภรัณยา ปาลวิสุทธิ์, อภินันท์ จุ่นกรณ์, มงคล รอดจันทร์, ธานิล ม่วงพูล. การพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล. วารสารวิชาการ ITM 2563;7(2):72–83.

ปพิชญา กลางนอก. การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแบบจำลองตามกฎ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม; 2561.

ผดุง นันอำไพ, จารี ทองคำ. การตรวจจับการบุกรุกด้วยเทคนิคการจำแนกในการทำเหมืองข้อมูล. วารสารวิชาการ ITM 2562;6(2):111-8.

Panigrahi R, Borah S. Rank Allocation to J48 Group of Decision Tree Classifiers using Binary and Multiclass Intrusion Detection Datasets. Procedia Comput Sci 2018;132(16):323-32.

Addario-Berry L, Brandenberger A, Hamdan J, Kerriou C. Universal height and width bound for random trees. Electron J Probab 2022;27:1-24.

อัศวิน สุรวัชโยธิน, วรภัทร ไพรีเกรง. การสร้างตัวแบบการทำนายในการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยใช้เทคนิคแบบบูรณาการในการแก้ปัญหาการจำแนกข้อมูลไม่สมดุลของกลุ่มผู้เรียน. JIST 2564;11(1):65–74.

Tanha J, Abdi Y, Samadi N, Razzaghi N, Asadpour M. Boosting methods for multi-class imbalanced data classification: An experimental review. J Big Data 2020;7(1):70.

Markoulidakis JG, Kopsiaftis G, Rallis I, Georgoulas I. Multi-Class Confusion Matrix Reduction method and its application on Net Promoter Score classification problem. Technologies 2021;9(4):81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20