ผลของเอนไซม์ แอลฟา-อะไมเลส อัลคาเลส และอะไมโลกลูโคซิเดส ต่อการสกัดเส้นใยอาหารจากหน่อไม้ฝรั่งเศษเหลือ
คำสำคัญ:
เส้นใยอาหาร , หน่อไม้ฝรั่งเศษเหลือ, การสกัดด้วยเอนไซม์, คุณสมบัติเชิงหน้าที่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส อัลคาเลส และ อะไมโลกลูโคซิเดสต่อการสกัดเส้นใยอาหารจากหน่อไม้ฝรั่งเศษเหลือ (Asparagus by-product) จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มปริมาณเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลส อัลคาเลส และ อะไมโลกลูโคซิเดสไม่สามารถเพิ่มปริมาณเส้นใยอาหาร และไม่มีผลต่อคุณสมบัติของเส้นใยอาหารเชิงหน้าที่ในการอุ้มน้ำ อุ้มน้ำมัน การพองตัว และการละลายน้ำได้อย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) นอกจากนั้นการสกัดด้วยเอนไซม์ทั้งสามชนิดให้ปริมาณเส้นใยอาหารไม่แตกต่างจากการสกัดโดยไม่ใช้เอนไซม์ แต่การสกัดด้วยเอนไซม์แอลฟา-อะไมเลสและอัลคาเลส จะให้เส้นใยอาหารที่มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการอุ้มน้ำ อุ้มน้ำมัน และการพองตัวสูงกว่าการสกัดโดยไม่ใช้เอนไซม์อย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) ยกเว้นการสกัดด้วยเอนไซม์อะไมโลกลูโคซิเดสที่ให้คุณสมบัติเชิงหน้าที่ไม่แตกต่างจากการสกัดโดยไม่ใช้เอนไซม์ การสกัดเส้นใยอาหารด้วยวิธีการใช้และไม่ใช้เอนไซม์จะให้ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด และคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการอุ้มน้ำและอุ้มน้ำมันสูงกว่าวัตถุดิบหน่อไม้ฝรั่งเศษเหลือเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) โดยวัตถุดิบหน่อไม้ฝรั่งเศษเหลือเริ่มต้นมีปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมดร้อยละ 62.4 – 66.9 โดยน้ำหนัก จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 74.7 – 86.8 โดยน้ำหนัก หลังผ่านการสกัด ส่งผลให้เส้นใยอาหารที่ได้มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการอุ้มน้ำเพิ่มขึ้นจาก 5.6 – 6.3 กรัมน้ำต่อกรัมเส้นใย เป็น 7.3 – 8.8 กรัมน้ำต่อกรัมเส้นใย และคุณสมบัติในการอุ้มน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 1.4 – 1.9 กรัมน้ำมันต่อกรัมเส้นใย เป็น 4.0 – 5.7 กรัมน้ำมันต่อกรัมเส้นใย ผลนี้แสดงให้เห็นว่าชนิดของเอนไซม์มีผลต่อคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการอุ้มน้ำ อุ้มน้ำมัน และการพองตัวของเส้นใยอาหาร และการสกัดมีผลทำให้ได้ปริมาณเส้นใยอาหารและคุณสมบัติเชิงหน้าที่ในการอุ้มน้ำและอุ้มน้ำมันเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุดิบที่ไม่ผ่านการสกัด
References
วรนัฐ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, วรรณา สนั่นพานิชกุล. หน่อไม้ฝรั่งไทยกระจายไกลไปทั่วโลกด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 29 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_74713,
ตลาดไท. หน่อไม้ฝรั่ง B (ดอกตูม). [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://talaadthai.com/products/asparagus-9614-2537
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. หน่อไม้ฝรั่ง: เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ รวมทั้งประเทศ ปี 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/asparagus65.pdf
Chitrakar B, Zhang M, Adhikari B. Asparagus (Asparagus officinalis): Processing effect on nutritional and phytochemical composition of spear and hard-stem byproducts. Trends in Food Sci Technol 2019;93:1–11.
Pegiou E, Mumm R, Acharya P, de Vos RCH, Hall RD. Green and White Asparagus (Asparagus officinalis): A Source of Developmental, Chemical and Urinary Intrigue. Metabolites 2019;10(1):17.
Fuentes-Alventosa JM, Rodriguez-Gutirrez G, Jaramillo-Carmona S, Espejo-Calvo JA, Rodriguez-Arcos R, Fernandez-Bolanos J, Guillin-Bejarano R, Jiminez-Araujo A. Effect of extraction method on chemical composition and functional characteristics of high dietary fibre powders obtained from asparagus by-products. Food Chem 2009;113(2):665–71.
Redondo-Cuenca A, García-Alonso A, Rodríguez-Arcos R, Castro I, Alba C, Miguel Rodríguez J, Goni I. Nutritional composition of green asparagus (Asparagus officinalis L.), edible part and by-products, and assessment of their effect on the growth of human gut-associated bacteria. Food Res Int 2023;163:112284.
DiNardo A, Wu P, Chang S. Protein and polysaccharides extraction from discarded asparagus base. In: CSBE/SCGAB 2016 Annual Conference Halifax World Trade and Convention Centre, July 3-6, 2016; Nova Scotia, Canada; 2016. p. 1-8.
Iwassa IJ, Ribeiro IMS, Meurer EC, Cardozo-Filho L, Bolanho BC, Silva C. Effect of subcritical water processing on the extraction of compounds, composition, and functional properties of asparagus by-product. J Food Process Eng 2019;42(4):e13060.
กมลลักษณ์ วิชาเร็ว. ผลของวิธีการสกัดต่อสมบัติทางเคมีกายภาพและสมบัติเชิงหน้าที่ของเส้นใยอาหารจากหน่อไม้เศษเหลือ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา; 2563.
Iwassa IJ, Piai JF, Bolanho BC. Fiber concentrates from asparagus by-products: Microstructure, composition, functional and antioxidant properties. Food Sci Technol 2019;43:1-9.
Laidens CP, Iwassa IJ, Stevanato N, Zampar IC, Barros BCB, Silva C. Obtaining fermentable sugars and fiber concentrate from asparagus byproduct. J Food Process Preserv 2021;45(7):e15640.
Prosky L, Asp NG, Schweizer TF, Devries JW, Furda I. Determination of insoluble, soluble and total dietary fiber in foods and food products: Interlaboratory Study. J Assoc Off Anal Chem 1988;71(5):1017-23.
Cadavid ELA, Molina DAR, Cartagena J. Chemical, physicochemical and functional characteristics of dietary fiber obtained from asparagus Byproducts (Asparagus officinalis L.). Rev Fac Nal Agr Medellín 2015;68(1):7533-44.
Takahashi H, Yoshida C, Takeda T. Sugar composition in asparagus spears and its relationship to soil chemical properties. J Appl Glycosci 2019;66(1):47–50.
Wachirasiri P, Julakarangka S, Wanlapa S. The effects of banana peel preparations on the properties of banana peel dietary fibre concentrate. Songklanakarin J Sci Technol 2009;31(6):605-11.
กุลรภัส วชิรศิริ, โศรดา วัลภา, มณีรัตน์ มีพลอย, ดำรงชัย สิทธิสำอาง, ยุทธศักดิ์ สุบการี. ผลของปริมาณรำข้าวและเอนไซม์อัลคาเลสต่อระดับการย่อยโปรตีน ผลผลิต และฤทธิ์ทางชีวภาพในการกำจัดอนุมูลอิสระของเพปไทด์ไฮโดรไลเซทจากรำข้าวสกัดน้ำมัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2564;44(3):427-42.
Daou C, Zhang H. Optimization of processing parameters for extraction of total, insoluble and soluble dietary fibers of defatted rice bran. Emir J Food Agric 2013;25(8):562-75.
โศรดา วัลภา, กุลรภัส วชิรศิริ, ดำรงชัย สิทธิสำอางค์, ฐิติชญา สุวรรณทัพ. ผลของกระบวนการเตรียมต่อองค์ประกอบ ทางเคมีและสมบัติเชิงหน้าที่ของใยอาหารจากเปลือกมะม่วงแก้ว. ว วิทย กษ 2552;40(3)(พิเศษ):141-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ