การหาปริมาณซัลไฟด์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบผลิตแก๊สชีวภาพ

ผู้แต่ง

  • พัชรี อินธนู สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ณัฐวรรณ สืบนันตา สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

แก๊สชีวภาพ , ไฮโดรเจนซัลไฟด์, โลหะซัลไฟด์ , เศษอาหาร, ระบบตกตะกอนไร้อากาศไหลขึ้นขั้นตอนเดียว

บทคัดย่อ

ในงานวิจัยนี้มีการศึกษาปริมาณซัลไฟด์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารด้วยระบบตกตะกอนไร้อากาศไหลขึ้นขั้นตอนเดียว (single-stage upflow anaerobic sludge blanket, UASB) ณ อุณหภูมิเมโซฟิลิก (37 องศาเซลเซียส) โดยไม่ควบคุมค่าความเป็นกรดด่าง จากการศึกษาพบว่าในกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพนอกจากจะพบองค์ประกอบของแก๊สมีเทน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สไฮโดรเจนแล้วยังพบองค์ประกอบของไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่พบมี 2 วัฏภาค คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ในวัฏภาคแก๊สหรือแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และไฮโดรเจนซัลไฟด์ในวัฏภาคของเหลวหรือซัลไฟด์ส่วนที่ละลาย (dissolved sulfide) ที่เกิดจากการละลายของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ในน้ำ ปริมาณซัลไฟด์ส่วนที่ละลายและปริมาณแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่พบอยู่ในช่วง 10-30 และ 120-180 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าปริมาณแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นปริมาณที่ไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของแก๊สชีวภาพหากนำไปใช้งานด้านพลังงาน คือ องค์ประกอบของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ในแก๊สชีวภาพจะไม่ส่งผลต่อค่าความร้อนของแก๊สชีวภาพ ในขณะที่ปริมาณซัลไฟด์ส่วนที่ละลายจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตแก๊สชีวภาพด้วยการเกิดสารประกอบโลหะซัลไฟด์จากซัลไฟด์ไอออนที่แตกตัวจากซัลไฟด์ส่วนที่ละลายจนทำให้สารอาหารรองในระบบตกตะกอนกับซัลไฟด์ไอออนซึ่งจะเห็นได้จากสีที่ค่อย ๆ เข้มขึ้นของเศษอาหารที่ผ่านการหมักเมื่ออัตราการป้อนสารอินทรีย์เพิ่มขึ้นจึงเป็นสาเหตุให้ปริมาณสารอาหารรองในระบบลดลงอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้สารอาหารรองสำหรับการสร้างน้ำย่อยหรือเอนไซม์ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตแก๊สชีวภาพลดต่ำลงส่งผลให้ปริมาณแก๊สชีวภาพที่ผลิตได้ลดลง

 

References

Andersson J, Helander-Claesson J, Olsson J. Study on reduced process temperature for energy optimisation in mesophilic digestion: A lab to full-scale study. Appl Energy 2020;271:115108.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. คู่มือความปลอดภัยในการผลิตและการใช้พลังงานก๊าซชีวภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://e-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15372.pdf

Zhong C, Liu Y, Xu X, Yang B, Aamer M, Zhang P, Huang G. Paddy-upland rotation with Chinese milk vetch retention reduced the global warming potential and greenhouse gas emissions intensity of double rice cropping system. Environ Pollut 2021;276:116696.

Intanoo P, Chaimongkol P, Chavadej S. Hydrogen and methane production from cassava wastewater using two-stage upflow anaerobic sludge blanket reactors (UASB) with an emphasis on maximum hydrogen production. Int J Hydrog Energy 2016;41(14):6107-14.

Ratanatamskul C, Manpetch P. Comparative assessment of prototype digester configuration for biogas recovery from anaerobic co-digestion of food waste and rain tree leaf as feedstock. Int Biodeterior Biodegradation 2016;113:367-74.

Menon A, Wang J-Y, Giannis A. Optimization of micronutrient supplement for enhancing biogas production from food waste in two-phase thermophilic anaerobic digestion. Waste Manag 2017;59:465-75.

Ilangovan K, Noyola A. Availability of micronutrients during anaerobic digestion of molasses stellage using an upflow anaerobic sludge blanket (UASB) reactor. Environ Technol 1993;14(8):795-9.

Thanh PM, Ketheesan B, Yan Z, Stuckey D. Trace metal speciation and bioavailability in anaerobic digestion: A review. Biotechnol Adv 2016;34(2):122-36.

Seneesrisakul K, Sutabutr T, Chavadej S. The effect of temperature on the methanogenic activity in relation to micronutrient availability. Energies 2018;11(5):1057.

Chandra R, Vijay VK, Subbarao PMV, Khura K. Production of methane from anaerobic digestion of jatropha and pongamia oil cakes. Appl Energy 2012;93:148-59.

Khan IU, Othman MHD, Hashim H, Matsuura T, Ismail AF, DashtArzhandi M, et al. Rezaei-DashtArzhandi M, Azelee IW. Biogas as a renewable energy fuel – A review of biogas upgrading, utilization and storage. Energy Convers Manag 2017;150:277-94.

Nhut HH, Thanh VLT, Le LT. Removal of H2S in biogas using biotrickling filter: Recent development. Process Saf Environ Prot 2020;144:297-309.

วรรณพร วัฒน์สุนธร, วิษณุ สีโหน, เฉลิมชัย เรืองชัยนิคม, ปัญญมี สัจจกมล, อรทัย ชวาลภาฤทธิ์, สุภางค์ จุฬาลักษณานุกูล, วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล. การลดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในระบบผลิตก๊าซด้วยกระบวนการทางชีวภาพ. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 2557;30(2):187-202.

พัชรินทร์ ราโช, บุญชัย วิจิตรเสถียร. การเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจนเพื่อบำบัดตะกอนส่วนเกินจากระบบตะกอนเร่งด้วยกระบวนการหมุนเวียนค่าความเป็นด่าง. รายงานการวิจัย สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, สำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2558 สัญญาเลขที่ SUT7-715-55-12-47.

Chen Q, Wu W, Qi D, Ding Y, Z Zhao. Review on microaeration-based anaerobic digestion: State of the art, challenges, and prospectives. Sci Total Environ 2020;710:136388.

Jiraprasertwong A, Seneesrisakul K, Pornmai K, Chavadej S. High methanogenic activity of a three-stage UASB in relation to the granular sludge formation. Sci Total Environ 2020;724:138145.

ยสุภนิจ เอี่ยมจินดา. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซมีเทนจากน้ำกากส่าที่มีปริมาณของโพแทสเซียมและซัลเฟตสูงโดยการเจือจางและควบคุมปริมาณของธาตุอาหารเสริม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีปิโตรเคมี, วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20