ผลของการสวมหน้ากากอนามัยที่มีต่อตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ SEIR สำหรับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ โพธิ์หลวง สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ณัฐกาญจน์ นำพันธุ์วิวัฒน์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

โรคไข้หวัดใหญ่, ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์, การสวมหน้ากากอนามัย, ฤดูกาลเกิดโรค, ค่าระดับการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน เชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่ที่มีคนอยู่อย่างหนาแน่น โดยเชื้อไวรัสจะปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์เสถียรภาพของตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์สำหรับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบผลของการสวมหน้ากากอนามัยที่มีต่อการแพร่ระบาดตามฤดูกาล ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือตัวแบบ SEIR จากผลการศึกษาพบว่า เมื่ออัตราการสวมหน้ากากอนามัยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ gif.latex?(\phi) เพิ่มขึ้น ค่าระดับการติดเชื้อ gif.latex?(R_{0})   จะลดลง โดยเฉพาะเมื่ออัตราการสัมผัสเชื้อสูงหรือฤดูกาลที่มีการแพร่ระบาดของโรคสูง ได้แก่ ฤดูฝนและฤดูหนาว จะได้ค่า gif.latex?R_{0} > 1  แสดงว่า มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น การสวมหน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นจะทำให้จำนวนประชากรของกลุ่มติดเชื้อและสามารถแพร่เชื้อได้ gif.latex?(I) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจนเข้าสู่จุดสมดุลที่มีการแพร่ระบาดของโรค และเมื่ออัตราการสัมผัสเชื้อต่ำหรือฤดูกาลที่มีการแพร่ระบาดของโรคต่ำ ได้แก่ ฤดูร้อน จะได้ค่า gif.latex?R_{0} < 1  แสดงว่า ไม่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้น การสวมหน้ากากอนามัยจึงไม่ส่งผลต่อการป้องกันของโรคไข้หวัดใหญ่

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2564 - 2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

WHO. Influenza (Seasonal). [Internet]. 2023 [cited 2023 Nov 30]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย พ.ศ. 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/DOE_flu_52.2566.pdf

รัชฏา วิริยะพงศ์. ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ด้วยสมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

มาลี ศรีพรหม, ณัฐกร จันทร์ชัย, เจษฎา กลยนีย์, ฤทธิเดช อินอุเทน, ตระกูลไทย ฉายแม้น. ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยพิจารณาผลกระทบจากปริมาณน้ำฝน. SNRUJST 2016;8:233-9.

Pongsumpun P. Mathematical model of influenza with seasons in Thailand. In: proceedings of the 6th Burapha University International Conference 2017, August 3-4, 2017; Chonburi, Thailand; 2017. p. 494-502.

วัชรพงษ์ แก้วรัตนะ, อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช. ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยการฉีดวัคซีน ในจังหวัดภูเก็ต. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 2 วันที่ 20 มีนาคม 2564. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ; 2564. หน้า B430-45.

พิชชานันท์ กินรี, อนุรักษ์ วีระประเสริฐสกุล, เจษฎา สุจริตธุรการ, อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช. ผลของอัตราการสวมหน้ากากอนามัยต่อตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของโรคไข้หวัดใหญ่ กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. ใน: เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 12 พฤษภาคม 2565. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา; 2565. หน้า 623-36.

Den Driessche PV, Watmough J. Reproduction numbers and sub-threshold endemic equilibria for compartmental models of disease transmission. Math Biosci 2002;180:29-48.

Willems JL. Stability theory of dynamical systems. New York: Wiley Interscience Division; 1970.

สำนักบริหารการทะเบียน. สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

Goswami NK, Shanmukha. A mathematical model of influenza: stability and treatment. in: proceedings of the international conference on mathematical modeling and simulation, August 31, 2016; Varanasi, India; 2016. p. 4898-935

ณัฐเสน คงเสน, วรรณภา หมวดมณี, อัญชุลี ณ ตะกั่วทุ่ง, เกตุกนก หนูดี, กันยากร อ่อนรักษ์. ผลของฤดูกาลเกิดโรคที่มีต่อตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส RSV. Life Sci Environ J 2023;24:226-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20