การศึกษาประสิทธิผลของการรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วยการฝังเข็ม

ผู้แต่ง

  • ธนกร ชาญนุวงค์ คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • จิตติกร พิมลเศรษฐพันธ์ คลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว
  • เสาวลักษณ์ มีศิลป์ คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, ฝังเข็ม, แพทย์แผนจีน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของการฝังเข็มรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย โดยศึกษาวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก (Experimental clinic trial) ผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้เป็นเพศชายที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อายุ 30-60 ปี จำนวน 30 ราย ได้รับการฝังเข็มที่จุด Baliao (BL31-34), Qugu (CV2), Zhongji (CV3), Qichong (ST30), Qihai (CV6), Guanyuan (CV4), Huiyin (CV1) และ Sanyinjiao (SP6) ประเมินผลโดยใช้แบบประเมิน International Index of Erectile Dysfunction-5 (IIEF-5) และ Erection Hardness Score (EHS) หลังการรักษาฝังเข็มครั้งที่ 5 และครั้งที่ 10 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติแบบ Independent sample t-test เพื่ออธิบายถึงประสิทธิผลของงานวิจัยนี้  โดยผลการรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วยการฝังเข็ม พบว่าหลังการรักษา 10 ครั้ง ผู้เข้าร่วมวิจัยมีค่าเฉลี่ย IIEF-5 score ดีขึ้นกว่าก่อนรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05 )  ในส่วนของระดับ EHS เฉลี่ยหลังการรักษา 5 และ 10 ครั้ง สามารถเพิ่มขึ้นได้ 1 ระดับ ซึ่งให้ประสิทธิผลที่ดีเช่นกัน ในด้านผลข้างเคียงจากการรักษาพบว่า 83.3% ไม่พบอาการข้างเคียงหลังการรักษา อีก 16.7% มีอาการปวดระบมและรอยช้ำเล็กน้อยบริเวณจุดฝังเข็ม แต่อาการเหล่านี้สามารถหายเองได้ใน 1 สัปดาห์ สรุปได้ว่าการฝังเข็มให้ประสิทธิผลที่ดีในการรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนหลังการรักษา 10 ครั้ง

References

NIH releases consensus statement on impotence. Am Fam Physician 1993;48(1):147-50.

Ayta IA, McKinlay JB, Krane RJ. The likely worldwide increase in erectile dysfunction between 1995 and 2025 and some possible policy consequences. BJU Int 1999;84(1):50-6.

Derogatis LR, Burnett AL. The epidemiology of sexual dysfunctions. J Sex Med 2008;5(2):289-300.

Quilter M, Hodges L, von Hurst P, Borman B, Coad J. Male Sexual Function in New Zealand: A Population-Based Cross-Sectional Survey of the Prevalence of Erectile Dysfunction in Men Aged 40-70 Years. J Sex Med 2017;14(7):928-36.

Laumann EO, Waite LJ. Sexual dysfunction among older adults: prevalence and risk factors from a nationally representative U.S. probability sample of men and women 57-85 years of age. J Sex Med 2008;5(10): 2300-11.

Permpongkosol S, Kongkakand A, Ratana-Olarn K. Increased prevalence of erectile dysfunction (ED): results of the second epidemiological study on sexual activity and prevalence of ED in Thai males. Aging Male 2008;11(3):128-33.

World Health Organization. Acupuncture: Review and Analysis of Reports on Controlled clinical trials. 1st ed. Geneva: Ebrary, Inc.;2002.

Wayne WD, Chad LC. Biostatistics A Foundations for Analysis in the Health Sciences. 10th ed. United States of America: John Wiley & Sons, Inc.;2013.

Lai JS, Chen YD, Ruan CL. Electroacupuncture at Baliao points for erectile dysfunction after stroke: a randomized controlled trial. Zhongguo Zhen Jiu 2023;43(2):158-62.

Shafik A, Shafik I, El-Sibai O. Effect of external anal sphincter contraction on the ischiocavernosus muscle and its suggested role in the sexual act. J Androl 2006;27(1):40-4.

Lai BY, Cao HJ, Yang GY, et al. Acupuncture for Treatment of Erectile Dysfunction: A Systematic Review and Meta-Analysis. World J Mens Health 2019;37(3):322-38.

Guo Y, Bao YJ, Gu ZJ. Effect of massage at Sanyinjiao (SP6) Combined with Low-Frequency pulse feedback Electrical Stimulation on Pelvic Floor Function and Frequency of Urinary Incontinence in Patients with Postpartum Stress Urinary Incontinence. World J Tradit Chin Med 2023;16(9):1826-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20