การประเมินวอเตอร์ฟุตพรินท์และน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับการส่งออกมะเขือเทศสดของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มนัสวี พานิชนอก สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สรัญญา ถี่ป้อม สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นภาพร มีสะอาด สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

วอเตอร์ฟุตพรินท์, น้ำเสมือน, การปลูกมะเขือเทศ, การส่งออก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินวอเตอร์ฟุตพรินท์ของการปลูกมะเขือเทศและเพื่อประเมินน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับการส่งออกมะเขือเทศสดของประเทศไทยปี พ.ศ. 2563 โดยการประเมินแบ่งออกเป็น วอเตอร์ฟุตพรินท์สีเขียว สีน้ำเงิน และสีเทา ผลการศึกษาพบว่า การปลูกมะเขือเทศในฤดูกาล จังหวัดที่มีค่าวอเตอร์ฟุตพรินท์รวมทั้งหมดน้อยที่สุดคือ แม่ฮ่องสอน (244.50 ลบ.ม.ต่อตัน) รองลงมาคือ หนองคาย (246.51 ลบ.ม.ต่อตัน) และสกลนคร (251.91 ลบ.ม.ต่อตัน) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายประเภทของวอเตอร์ฟุตพรินท์พบว่า การปลูกมะเขือเทศมีการใช้น้ำสีน้ำเงินมากที่สุด รองลงมาคือ สีเทา และสีเขียว ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินมีความจำเป็นมากต่อการปลูกมะเขือเทศ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ปลูกมะเขือเทศยังไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตามปกติ ส่วนปริมาณน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์สุทธิที่สัมพันธ์กับการส่งออกมะเขือเทศสดพบว่ามีค่าเท่ากับ 163,692.61 ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งน้ำเสมือนผลิตภัณฑ์นี้ได้ไหลไปยังประเทศสิงคโปร์มากที่สุด รองลงมาคือ เมียนมาร์ และมาเลเซีย ตามลำดับ โดยน้ำถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อประชาชนในประเทศ ในกรณีที่ประเทศผู้ส่งออกประสบภัยแล้งหรือมีปริมาณน้ำใช้ภายในประเทศน้อยอาจจำเป็นต้องวางแผนการผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อการส่งออกในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการบริโภคน้ำภายในประเทศ

References

Sainju UM, Dris R, Singh B. Mineral nutrition of tomato. J Food Agric Environ 2003;1(2):176-83.

วันดี ทาตระกูล, วิภา หอมหวล, สนธยา นุ่มท้วม, รังสรรค์ เจริญสุข. การพัฒนาวัตถุดิบอาหารสัตว์แหล่งพลังงานจากกากมะเขือเทศและมันสำปะหลัง. พิษณุโลก: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2557.

Haraira A, Mazhar HS, Ahmad A, Khalid MN, Tariq M, Nazir S, et al. Enhancing health benefits of tomato by increasing its antioxidant contents through different techniques: A review. Adv Life Sci 2022;9(2):131-42.

Food and Agriculture Organization Corporate Statistical Database. Crops and livestock products. [Internet]. 2020 [cited 2024 Feb 23]. Available from: https://www.fao.org/faostat/en/#data/QCL

กรมส่งเสริมการเกษตร. มะเขือเทศ ปี พ.ศ. 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2565/23potato.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. มะเขือเทศ: ผลผลิต พื้นที่ปลูก ปี พ.ศ. 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/tomato%2063.pdf

ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. มะเขือเทศ: ฐานข้อมูลปริมาณการส่งออกและนำเข้า ปีพ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร; 2565.

กรุง สีตะธนี. การปลูกมะเขือเทศ: เอกสารเผยแพร่ อันดับที่ 70. นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2543.

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3. เทคโนโลยีการผลิตมะเขือเทศแบบผสมผสาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doa.go.th/share/showthread.php?tid=2440

สมภพ ฐิตะวสันต์. การปลูกมะเขือเทศนอกฤดู. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2526;1:40-9.

มนัสวี พานิชนอก, ภัทรนัย ไชยพรม. วอเตอร์ฟุตพรินท์ของการปลูกมะเขือเทศโรงงานในจังหวัดลำปาง. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ครั้งที่ 4 วันที่ 28 สิงหาคม 2563. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. ชลบุรี; 2563. หน้า 61-70.

Hoekstra AJ, Chapagain AK, Aldaya MM, Mekonnen M. The water footprint assessment manual: Setting the global standard. London: Earthscan; 2011.

มูลนิธิโครงการหลวง. คู่มือการปลูกผักบนพื้นที่สูง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน); 2557.

Land and Water Development. Software CropWat 8.0. Food and Agriculture Organization of the United Nations [Internet]. 2023 [cited 2023 Mar 7]. Available from: https://www.fao.org/land-water/databases-and-software/cropwat/en/

กรมอุตุนิยมวิทยา. ฐานข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน ปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2023.

Food and Agricultural Organization of the United Nations. Crop evapotranspiration, irrigation and drainage paper, No. 56. Rome: Development and Management Service; 2006.

สมปอง นิลพันธ์. การศึกษาปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ ของชุดดินต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อกำหนดระยะเวลาและปริมาณการให้น้ำแก่พืช. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน; 2553.

ทิพย์ปภา สุขุมาลชาติ, อดิชัย พรพรมหมินทร์, สุรชัย ลิปิวัฒนาการ. วอเตอร์ฟุตปริ้นของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย. วิศวกรรมสาร มข. 2556;40(1):67-78.

Franke NA, Boyacioglu H, Hoekstra AY. Grey water footprint accounting - tier 1 supporting guidelines: Value of water research report series, No. 65. Delft: UNESCO-IHE; 2013.

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน. ราชกิจจานุเบกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2537 [เข้าถึงเมื่อ 3 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1650004.pdf

Mokonnen MM, Hoekstra AY. (2011). The green, blue, and grey water footprint of crops and derived crop products. Hydrol Earth Syst Sc 2011;15(5):1577-2011.

กรุง สีตะธนี. สภาพแวดล้อมและการปลูกมะเขือเทศในฤดูกาลต่างๆ. นครปฐม: สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน; 2554.

ธงไชย โรหิตะดิษฐ ศรีนพคุณ. การประเมินวอเตอร์ฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมัน ไบโอดีเซล และผลิตภัณฑ์ยางพารา. กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2560.

Evangelou E, Tsadilas C, Tserlikakis N, Tsitouras A, Kyritsis A. Water footprint of industrial tomato cultivations in the Pinios river basin: soil properties interactions. Water 2016;8(11):515

Iqbal H, Imteaz MA, Khastagir A. Water footprint: applying the water footprint assessment method to Australian agriculture. J Sci Food Agric 2021;101(10):4090-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-18