ผลของการปรับสภาพด้วยด่างและการลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรด ในแกลบ ฟาง และกากรำข้าวสกัดน้ำมัน ต่อการผลิตไซโลไบโอสด้วยเอนไซม์ไซแลนเนสทางการค้า THE EFFECT OF ALKALI PRETREATMENT AND ACID DEBRANCHING ON RICE HUSK, RICE STRAW, AND DEFATTED RICE BRAN FOR XYLOBIO()

Authors

  • ปัณณปภณ ใจฉกรรจ์ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ดัง ทิ ฮอง นึง ภาควิชาชีวเคมีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัย Nong Lam
  • มัสลิน นาคไพจิตร ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรรณพร คลังเพชร ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

วัสดุชีวมวล, การปรับสภาพด้วยด่าง, การลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรด, เอนโดไซแลนเนส, ไซโลไบโอส

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับสภาพด้วยด่างและการลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรดต่ออัตราส่วนน้ำตาลอะราบิโนสต่อไซโลส (A/X) ของอะราบิโนไซแลน (AX) ในฟางข้าว แกลบ และกากรำข้าวสกัดน้ำมัน เพื่อเตรียมสำหรับการผลิตไซโลไบโอส และ/หรือ อะราบิโนไซโลโอลิโกแซคคาไรด์ด้วยเอนไซม์ไซแลนเนสทางการค้า โดยเริ่มจากนำวัสดุชีวมวลแต่ละชนิดทำการปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 2% และนำไปลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรดฟอร์มิก พบว่าน้ำหนักมวลของแกลบ ฟางข้าว และกากรำข้าวสกัดน้ำมันหลังการปรับสภาพด้วยด่างเท่ากับ 68.7, 44.8 และ 24.3% ในขณะที่ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 19.9 เป็น 28.0%, 21.7 เป็น 26.4%
และ 11.3 เป็น 20.0% เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชีวมวลที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ ตามลำดับ และเมื่อทำการลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรดฟอร์มิก พบว่าปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในวัสดุชีวมวลเพิ่มขึ้นเป็น 4% นอกจากนี้การปรับสภาพด้วยด่างสามารถลดอัตราส่วน A/X ในกากรำข้าวสกัดน้ำมัน แกลบ และฟางข้าว จาก 1.08 เป็น 0.82, 0.14 ถึง 0.13 และ 0.22 เป็น 0.22 ในขณะที่ปริมาณ AX เพิ่มขึ้นจาก 5.8 เป็น 14.3%, 11.5 เป็น 18.6% และ 11.0 เป็น 18.3% ตามลำดับ ซึ่งการปรับสภาพด้วยด่างและการลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรดส่งผลทำให้อัตราส่วน A/X ในกากรำข้าวสกัดน้ำมันลดลงจาก 1.08 เป็น 0.63 หลังจากกระบวนการดังกล่าว วัสดุชีวมวลถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตไซโลไบโอสด้วยเอนไซม์เอนโดไซแลนเนสทางการค้าชนิด Pentopan Mono BG และ Pentopan 500 BG ที่ระดับความเข้มข้น 132.5 U และ 26.5 U ต่อหนึ่งกรัมของสารตั้งต้น ตามลำดับ ในโซเดียมฟอสเฟตบัฟเฟอร์ (พีเอช 6.0) ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมง โดยเขย่าอย่างต่อเนื่องที่ความเร็ว 150 รอบต่อนาที จากผลการศึกษาพบว่าสารชีวมวลที่มีอัตราส่วน A/X สูงจะถูกย่อยได้น้อยกว่าสารชีวมวลที่มีอัตราส่วน A/X ต่ำ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเอนไซม์ Pentopan 500 BG แสดงประสิทธิภาพการย่อยได้ดีกว่า Pentopan Mono BG ถึงแม้ว่าผลของโครมาโตรกราฟฟีแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการย่อยด้วยเอนไซม์ไซแลนเนสทั้งสองชนิดมีชนิดของน้ำตาลที่เหมือนกัน ได้แก่ น้ำตาลไซโลส น้ำตาลอะราบิโนส น้ำตาลไซโลไบโอส และน้ำตาลที่เป็นพอลิเมอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม Pentopan 500 BG ได้แสดงการผลิตน้ำตาลไซโลสและอะราบิโนสที่โดดเด่นกว่า Pentopan Mono BG จากการศึกษาครั้งนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า ฟางข้าวและแกลบสามารถใช้การปรับสภาพด้วยด่างเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอต่อการเตรียมสำหรับการผลิตไซโลไบโอส ในขณะที่กากรำข้าวสกัดน้ำมันจำเป็นต้องใช้การปรับสภาพด้วยด่างร่วมกับการลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรด

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] Knob A., Fortkamp D., Prolo T., Izidoro S.C., and Almeida J.M. (2014). Agro-residues as alternative for xylanase production by filamentous fungi. Bioresources. 9(3), 5738-5773.
[2] Aachary A. A., and Prapulla S.G. (2009). Value addition to corncob: Production and characterization of xylooligosaccharides from alkali pretreated lignin-saccharide complex using Aspergillus oryzae MTCC 5154. Bioresource Technology. 100, 991-995.
[3] Akpinar O., Ak O., Kavas A., Bakir U., and Yilmaz L. (2007). Enzymatic production of xylooligosaccharides from cotton stalk. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 55, 5544-5551.
[4] Millett M. A., Baker A.J., and Satter L.D. (1976). Physical and Chemical Pretreatments for Enhancing Cellulose Saccharification. Biotechnology and Bioengineering Symposium. 6, 125-153.
[5] Fan L., Lee Y-H., and Gharpuray M. M. (1982). The Nature of Lignocellulosics and their Pretreatment for Enzymatic Hydrolysis. Advances in Biochemical Engineering. 23, 157-187.
[6] Vazquez M. J., Alonso J. L., Dominguez H., and Parajo J. C. (2002). Enzymatic processing of crude xylooligomer solutions obtained by autohydrolysis of eucalyptus wood. Food Biotechnology. 16, 91- 105.
[7] McCleary Barry V., Vincent A McKie, Anna Draga, Edward Rooney, David Mangan, and Jennifer Larkin. (2015). Hydrolysis of wheat flour arabinoxylan, acid-debranched wheat flour arabinoxylan and arabino-xylo-oligosaccharides by β-xylanase, α-L-arabinofuranosidase and β-xylosidase. Carbohydrate Research. 407, 79-96.
[8] Miller G.L. (1959). Use of dinitrosalicylic acid reagent for determination of reducing sugar. Analytical chemistry. 31(3), 426-428.
[9] Nachaiwieng Woottichai, Saisamorn Lumyong, Ronachai Pratanaphon, Koichi Yoshioka, and Chartchai Khanongnuch. (2015). Potential in bioethanol production from various ethanol fermenting microorganisms using rice husk as substrate. Biodiversitas. 16(2), 320-326.
[10] Roberto IC., Mussatto SI, and Rodrigues RCLB. (2003). Dilute-acid hydrolysis for optimization of xylose recovery from rice straw in a semi-pilot reactor. Industrial Crops Production. 7, 171-176.
[11] Tarkow H., and Feist W. C. (1969). A Mechanism for Improving the Digestibility of Lignocellulosic Materials with Dilute Alkali and Liquid Ammonia. Advances in Chemistry Series. 95, 197-218.
[12] Brownell H. H., Yu E. K C., and Saddler J. N. (1986). Steam-explosion Pretreatment of Wood: Effect of Chip Size, Acid, Moisture Content and Pressure Drop. Biotechnology and Bioengineering. 28, 792-801.
[13] Swennen K., Courtin C.M., Lindemans G.C.J.E, and Delcour J.A. (2006). Large-scale production and characterisation of wheat bran arabinoxylooligosaccharides. Journal of the Science of Food and Agriculture. 86, 1722-1731.
[14] McMillan J. D. (1994). Pretreatment of Lignocellulosic Biomass. Enzymatic Conversion of Biomass for Fuels Production. Chapter 15, 292-324.
[15] Biely P., Vrsanská M., Tenkanen M., and Kluepfel D. (1997). Endo-β-1,4-xylanase families: differences in catalytic properties. Journal of Biotechnology. 57, 151-166.
[16] Sajib M. A. M. (2018). Preparation and evaluation of arabinoxylan based prebiotics. Preparation and evaluation of arabinoxylan based prebiotics.
[17] Stone J. E., Scallan A. M., Donefer E., and Ahlgren E. (1969). Digestibility as a Simple Function of a Molecule of Similar Size to a Cellulase Enzyme. Advances in Chemistry Series. 95, 219-241.
[18] Hespell RB., and O'Bryan PJ. (1992). Purification and characterization of an α-L-arabinofuranosidase fromButyrivibrio fibrisolvens GS113. Applied Environment Microbiolgy. 58(4), 1082-1088.
[19] Poutanen K., Rättö M., Puls J., and Viikari L. (1987). Evaluation of different microbial xylanolytic systems. Journal of Biotechnology. 6, 49-60.

Downloads

Published

2020-03-30

How to Cite

ใจฉกรรจ์ ป. ., ทิ ฮอง นึง ด. ., นาคไพจิตร ม. ., & คลังเพชร ว. . (2020). ผลของการปรับสภาพด้วยด่างและการลดความเป็นโซ่กิ่งด้วยกรด ในแกลบ ฟาง และกากรำข้าวสกัดน้ำมัน ต่อการผลิตไซโลไบโอสด้วยเอนไซม์ไซแลนเนสทางการค้า THE EFFECT OF ALKALI PRETREATMENT AND ACID DEBRANCHING ON RICE HUSK, RICE STRAW, AND DEFATTED RICE BRAN FOR XYLOBIO(). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 11(22, July-December), 91–103. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/240370