ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น (FACTORS RELATED TO HbA1c LEVELS IN TYPE 2 DIABETIC PATIENTS AT PRAYUEN HOSPITAL IN KHON KAEN PROVINCE)

ผู้แต่ง

  • คนึงนุช แจ้งพรมมา โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น
  • พัทธนันท์ คงทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

Factors Related to HbA1c levels in Type 2 Diabetic Patients, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสู่การพัฒนางานประจำ (R2R) โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical  Research) เก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบเก็บข้อมูลในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล
พระยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ในเขตพื้นที่อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 190 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด สถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก (Multiple Logistic Regression) ด้วยเทคนิคการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ระดับความดันโลหิตมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ มีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 0.55 เท่าของกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตระดับปกติ (95% CI เท่ากับ 0.32 ถึง 0.95, p<0.05)
2) ญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 4.24 เท่าของผู้ญาติสายตรงที่ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (95% CI เท่ากับ 1.79 ถึง 5.05, p<0.05) 3) จำนวนครั้งที่มาพบแพทย์ใน 1 ปี
มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนครั้งที่มาพบแพทย์ใน 1 ปี มากกว่า 6 ครั้ง มีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 4.24 เท่าของกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนครั้งที่มาพบแพทย์ใน 1 ปี น้อยกว่าเท่ากับ 6 ครั้ง (95% CI เท่ากับ 2.00 ถึง 5.38, p<0.05) 4) ความสม่ำเสมอในการมารับยามีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความสม่ำเสมอในการมารับยาผิดนัดบางครั้ง/บ่อยครั้งมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 2.02 เท่า ของกลุ่มที่มาสม่ำเสมอไม่เคยขาด (95% CI เท่ากับ 1.07 ถึง 2.86, p<0.05) 5) ระดับความเครียดมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่าง
ที่มีระดับความเครียดสูงมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 2.32 ของกลุ่มปกติ (95% CI เท่ากับ 1.42 ถึง 3.78, p<0.05) 6) บุคคลในครอบครัวสนใจและใส่ใจการป่วยมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีบุคคลในครอบครัวไม่สนใจและไม่ใส่ใจการป่วยมีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 0.14 เท่าของกลุ่มที่มีบุคคลในครอบครัวสนใจและใส่ใจการป่วย (95% CI เท่ากับ 0.35 ถึง 0.58, p<0.05) 7) ระดับ Triglyceride
มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับ Triglyceride สูงกว่าปกติ
มีโอกาสให้ระดับ HbA1c สูงเป็น 2.52 เท่าของกลุ่มปกติของกลุ่มที่มีระดับ Triglyceride ปกติ (95% CI เท่ากับ 1.53 ถึง 4.13, p<0.05)  

            จากผลการวิจัยข้างต้นทำให้ทราบว่าปัจจัยใดที่ส่งผลต่อระดับ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลพระยืน จึงเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบการตัดสินใจให้แพทย์ผู้ในการรักษา ทราบถึงการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และแนวโน้มของระดับ HbA1c ของผู้ที่มารับการรักษาต่อไป

Downloads

References

[1] ยุทธพล มั่นคง. (2554). ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมในการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับบริการโรงพยาบาลมุกดาหาร. มุกดาหาร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร.
[2] สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี.(2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ.
[3] Schlesselman. J. J. (1982). Case-Control Studies: Design, Conduct, Analysis. New York: Oxford
University Press.
[4] กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือโรคเรื้อรังการดำเนินงานในหน่วยปฐมภูมิ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560,จาก https://www.moph.go.th
[5] โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2560). ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/A1C
[6] ฤทธิรงค์ บูรพันธ์; และ นิรมล เมืองโสม. (2556, กรกฎาคม-กันยายน). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(3): 102-109.
[7] หนึ่งฤทัย จันทร์อินทร์; และคณะ. (2558, พฤษภาคม-สิงหาคม). พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Rama Nurs J. 21(2): 199-213.
[8] ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (2560). บริการทางการแพทย์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560, จาก https://www.phyathai.com/doctorcenterdetail/13/54641/PYT2/th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-16

How to Cite

แจ้งพรมมา ค., & คงทอง พ. (2018). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น (FACTORS RELATED TO HbA1c LEVELS IN TYPE 2 DIABETIC PATIENTS AT PRAYUEN HOSPITAL IN KHON KAEN PROVINCE). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(19, January-June), 1–13. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/140495