การวิเคราะห์และลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับผักออร์แกนิคในภาคตะวันตกของประเทศไทย (ANALYSIS AND LOGISTICS COST REDUCTION FOR ORGANIC VEGETABLES IN THE WEST OF THAILAND)
คำสำคัญ:
การลดต้นทุนโลจิสติกส์, แผนผังสายธารคุณค่า, ต้นทุนฐานกิจกรรม, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, ผักออร์แกนิคบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาต้นทุนโลจิสติกส์ของห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรประเภทผักออร์แกนิคในภาคตะวันตกของประเทศไทย เพื่อนำเสนอแนวทางการลดต้นทุนของห่วงโซ่อุปทานดังกล่าว
ได้อย่างยั่งยืน การวิจัยเริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน
ของผลิตภัณฑ์ผักออร์แกนิคตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อวัตถุดิบจนถึงการส่งสินค้าไปยังปลายทาง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฟาร์มเกษตรกรรมแบบมีระบบ และฟาร์มเกษตรกรรมแบบไม่มีระบบ จากนั้นนำข้อมูล
จากการศึกษามาวิเคราะห์คุณค่าของกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานสถานะปัจจุบัน โดยใช้แผนผังสายธารคุณค่า
แล้วจึงขจัดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า พร้อมกับปรับลดกิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า ในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ผลการวิจัยพบว่า รอบระยะเวลารวมของกระบวนการในห่วงโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรประเภทผักออร์แกนิคของฟาร์มเกษตรกรรมแบบมีระบบลดลงร้อยละ 0.78 และแบบไม่มีระบบลดลงร้อยละ 5.55 นอกจากนี้เมื่อปรับปรุงกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานแล้ว พบว่า ทำให้ค่าความเสี่ยงที่เกิดจากความล่าช้าของการดำเนินงานในฟาร์มแบบมีระบบลดลงถึงร้อยละ 21.43 โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 19.37 บาทต่อกิโลกรัม และแบบไม่มีระบบลดลงถึงร้อยละ 29.03 โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 20.32 บาทต่อกิโลกรัม ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อวิเคราะห์เฉพาะต้นทุน
โลจิสติกส์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม ยังพบว่า กิจกรรมที่ก่อให้เกิดต้นทุนสูงในฟาร์ม
แบบเกษตรกรรมแบบมีระบบ ได้แก่ กิจกรรมการจัดเตรียมสินค้าออก และการคัดเกรดสินค้า รวมแล้วคิดเป็น
ร้อยละ 22.10 ของต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมด และในฟาร์มเกษตรกรรมแบบไม่มีระบบ ได้แก่ กิจกรรมการจัดเตรียมสินค้าออก และการเตรียมการบรรจุสินค้า รวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 23.46 ของต้นทุนโลจิสติกส์ทั้งหมด ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางสำหรับการลดต้นทุนของกิจกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งอาจลดต้นทุนโลจิสติกส์ในฟาร์มแบบมีระบบได้มากถึง 113,770 บาทต่อปี และแบบไม่มีระบบมากถึง 85,920 บาทต่อปี
Downloads
References
[2] คลอเคลีย วจนะวิชากร; ปานจิต ศรีสวัสดิ์; และ วรัญญู ทิพย์โพธิ์. (2558, กรกฎาคม - ธันวาคม). การประยุกต์ใช้แผนผังสายธารคุณค่าในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานหวดนึ่งข้าวอัตโนมัติในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 8(2): 1-13.
[3] สนั่น เถาชารี; และ ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. (2555, กันยายน-ตุลาคม). การประยุกต์ใช้แผนผังสารธายคุณค่าในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานข้าวในภาคตะวันออกฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 17(5): 687-705.
[4] จุฑามาศ เนตรปัญญา; และ นิวิท เจริญใจ. (2555). การเพิ่มศักยภาพห่วงโซ่อุปทานของสตรอเบอรี่สดในจังหวัดเชียงใหม่. ใน เอกสารการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555. 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพชรบุรี: 1932-1937.
[5] ศิวพร สุกสี; และ วีรพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์. (2555, กรกฎาคม-กันยายน). การศึกษาต้นทุนการขนส่งและกระจายเอทานอลของผู้ประกอบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทยด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม. วารสารแก่นเกษตร. 40(3): 201-207.
[6] ศศิธร อ่อนสนิท. (2554). การวิเคราะห์การลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) กรณีศึกษา: บริษัท จอห์นสัน คอนโทรล แอนด์ ซัมมิท อินทิเรียส์ จำกัด. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 115-122.
[7] ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). การวิจัยเพื่อการบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
[8] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ภาคตะวันตก (ประเทศไทย). สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ภาคตะวันตก_(ประเทศไทย)
[9] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2558, จาก https://www.isranew s.org/thaireform-data-economics/item/23923-logistics.html
[10] สายฝน คงประเวศ; และ ระพี กาญจนะ. (2555). การทบทวนวรรณกรรมการวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ด้วยวิธีต้นทุนตามฐานกิจกรรม. ใน เอกสารการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555. 17-19 ตุลาคม 2555 ชะอำ เพชรบุรี: 2168-2176.
[11] สุวัฒน์ จรรยาพูน. (2552). ลดต้นทุนด้วยเทคนิค ECRS. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2558, จาก https:// www.logisticsdigest.com/component/content/article/148-october-2009/2893-ลดต้นทุนด้วยเทคนิค-e-c-r-s.html
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต