ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากปุ๋ยหมักเปลือกกาแฟและถ่านชีวภาพ

Main Article Content

supaporn pongthornpruek

Abstract

การพัฒนาสารปรับปรุงดินอัดเม็ดสำเร็จรูปจากปุ๋ยหมักเปลือกกาแฟและถ่านชีวภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการอัดเม็ดและคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดสำเร็จรูปด้วยเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยระบบเกลียว เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าในการนำสิ่งที่ได้จากการทำการเกษตรหรือวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ดำเนินการศึกษาโดยผสมวัสดุในอัตราส่วนที่แตกต่างกันทั้งหมด 3 สูตร บันทึกข้อมูลกำลังการผลิตของปุ๋ยแต่ละสูตร วิเคราะห์ คุณสมบัติทางเคมีของปุ๋ย ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH),      ค่าการนำไฟฟ้า (EC) และปริมาณธาตุอาหารหลัก (N–P–K) เปรียบเทียบลักษณะของเม็ดวัสดุปรับปรุงดินอัดเม็ดสำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่าปุ๋ยอินทรีย์สูตรที่ 2 เหมาะสมต่อการขึ้นรูปอัดเม็ด คุณสมบัติของเม็ดคงรูปดี       ไม่แตกหักง่าย เมื่อโดนน้ำสามารถละลายได้ดี มีกำลังการผลิตสูงสุด 22 กิโลกรัม/ชั่วโมง ลักษณะทางเคมีของปุ๋ยมีปริมาณธาตุอาหารหลักครบถ้วน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งสามารถนำไปใช้กับพืชได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ซูไฮมิน เจ๊ะมะลี และ ยะโก๊ะ ขาเร็มดาเบะ. (2560). การผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันผสม ขนไก่: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกูเล็ง หมู่ 2 ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จังหวัดนราธิวาส.

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ ประธีป วีระพัฒนนิรันทร์. (2554). ธรรมชาติของดินและปุ๋ย. กรมส่งเสริมการเกษตร กรุงเทพฯ.

ปิยะวัฒน์ ศรีธรรม. วิทยา อิ่มสำราญ. พิทักษ์ บุญไทย. และ สุภา สีสนมาก. (2559). เครื่องผสมพร้อมกับ อัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์.วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 2(2), 87-96. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/featkku/article/download/176253/125801

อภิชาติ สวนคำกอง. ดนุวัติ เพ็งอ้น. ประกิต โก๊ะสูงเนิน. และ ธเนศ ไชยชนะ. (2555). การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อัดเม็ดจากของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตเอทานอลและแก๊สชีวภาพจากลำไยตกเกรด. รายงานการ วิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่.

อรุณวตรี รัตนธารี. (2562). คุณสมบัติเปลือกเมล็ดกาแฟ. http://www.kasetporpeang.com