ผลของน้ำหมักชีวภาพผักตบชวาต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์พริกจินดาแดง

Main Article Content

Salinee Phonmat

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพผักตบชวา (Eichhornia crassipes (Mart.) Solms) ต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์พริกจินดาแดง (Capsicum annuum L.) โดยนำเมล็ดพันธุ์พริกแช่ในน้ำหมักชีวภาพผักตบชวาอัตราส่วนระหว่างน้ำหมักชีวภาพต่อน้ำกลั่นต่างกัน 4 ระดับ คือ 1 : 250, 1 : 500, 1 : 750 และ 1 : 1,000  โดยปริมาตร (v/v) และใช้ระยะเวลาในการแช่เมล็ดต่างกัน ดังนี้ 6, 9 และ 12 ชั่วโมง และนำเมล็ดพันธุ์พริกที่ผ่านการแช่น้ำหมักชีวภาพไปทดสอบความงอกของเมล็ดด้วยวิธี Top of paper และทดสอบความงอกใน   สภาพแปลง ผลการศึกษา พบว่าอัตราส่วนความเข้มข้น 1 : 750 โดยปริมาตร ระยะเวลาในการแช่เมล็ด 12 ชั่วโมง ให้ร้อยละความงอกและดัชนีการงอกของเมล็ดสูงสุดทั้งวิธีการทดสอบความงอกของเมล็ดด้วยวิธี Top of paper และในสภาพแปลงเท่ากับ 87.67 และ 10.79 และ 85.00 และ 10.12 ตามลำดับ (P < 0.05) ดังนั้น การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพจากผักตบชวาเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการกระตุ้นการงอกเมล็ดพันธุ์พริกได้ และยังเป็นแนวทางในการกำจัดและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากผักตบชวาได้อีกด้วย


 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2547). ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ น้ำหมักชีวภาพ (ตอนที่ 1). เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 3/547. กรุงเทพมหานคร: ควิกปริ๊นท์ออฟเซ็ท. http://lib.doa.go.th/multim/e-book/EB00161.pdf.

กรองกาญจน์ จันต๊ะ, สโรชา ป๊อกยะดา และนันภัทร บัวเย็น. (2561). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการงอกและการเจริญของเมล็ดข้าวเหนียวเขี้ยวงู. Science and Technology RMUTT Journal, 8(1), 152-164. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/past/article/download/243054/164924/844292.

กาญจนา ลือพงษ์, สัมภาษณ์ สุวรรณคีรี และภัทราวุธ ภัทระธนกุลชัย. (2560). การพัฒนาเครื่องย้อมสีเส้นด้ายผักตบชวาและวัสดุเสริมเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/297210.

กิเลน ประลองเชิง. (2559, 13 กันยายน). ต้นทางของผักตบ. http://thairath.co.th/content/719745.

เฉลิม เรืองวิริยะชัย. (2552). การศึกษาฮอร์โมนพืชในน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้เพื่อพริกอินทรีย์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KKU.res.2009.128.

ณัฏฐ์วรินท์ ธุวะคำ และวัชรี ฟั่นเฟือนหา. (2562). ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษเหลือผลไม้ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค. วารสารวิทยาศาสตร์ มข, 47(2), 266-272. https://scijournal.kku.ac.th/files/Vol_47_No_2_P_266-272.pdf.

บุษบา อู่อรุณ. (2557). การศึกษาการลดปริมาณผักตบชวาเพื่อนำไปสร้างธุรกิจขนาดย่อมในชุมชนหลวงพรตท่านเลี่ยม เขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงธนบุรี, 8(17), 38-44. https://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/8-17/17-4-Butsaba.pdf.

ปิยะรัตน์ วิจักขณ์สังสิทธิ์, ลักขณา เบ็ญจวรรณ์, วุฒิชัย ทองดอนแอ และอุดม แก้วสุวรรณ์. (2556). ผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพต่างชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพริก. ใน, การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 วันที่ 6-7 ธันวาคม 2556 (หน้า 2164-2173).นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. https://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/img/gallery/article_10/pdf/p_plant07.pdf.

พงษ์ พฤกษา. (2551). เกษตรอินทรีย์ ชุดปุ๋ยและน้ำสกัดชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย. https://opac.lib.ubu.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00110435&BibID=b00110435.

ภารดี แซ่อึ้ง และสุพรรษา มีกลิ่นหอม. (2563). ผลของการแช่น้ำหมักชีวภาพต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 49-59. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/237374.

ภิรมณ์ สุวรรณสม. (2551). การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและกรดจิบเบอเรลลิก (จีเอ 3) ในน้ำหมักชีวภาพ [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณลดา สุนันนทพงศ์ศักดิ์ และเสียงแจ๋ว พิริยะพฤนต์. (2546). การผลิตและประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. กรุงเทพมหานคร: กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. (2538). สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพืชไรนา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/kukr/search_detail/result/344358.

วิเชียร แดงท่าข้าม. (2555). การใช้น้ำหมักชีวภาพผักตบชวาลดต้นทุนการผลิตในนาข้าว ปี 2553 เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร [รายงานผลการดำเนินงาน]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเกษตรเขตมีนบุรี. http://www.research.doae.go.th/webphp/webmaster/fileworkres/1347001852vichrien.pdf.

ศรันยา คุ้มปลี และสุรพงษ์ ดำรงกิตติกุล. (2555). ผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพผลไม้ต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์พริก. ใน, การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9 วันที่ 6-7 ธันวาคม 2555 (หน้า 2339-2346). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. http://researchconference.kps.ku.ac.th/conf9/index.php.

ศิริรัตน์ ก๋าวีเขียว, บุญนิธิ คัสกุล, นงลักษณ์ มีแก้ว, สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ, สุภาภรณ์ ศิริโสภณา และสมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2554). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียว Vigna radiate L. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 2(1), 30-38. https://doi.org/10.14456/jstel.2011.4.

สถาบันวิจัยพืชสวน. สถานการณ์การผลิตพริก. (2563). http://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/10/สถานการณ์พริก_ตุลาคม63.pdf.

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. (2544). สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมเกียรติ พรพิสทธิมาศ, สายสุณีย์ ลิ้มชูวงศ์, สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ และทิพวรรณ เหล่าหาโคตร. (2552). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของพืชตระกูล Fabaceae. ใน, การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 15-17 ตุลาคม 2552. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมเกียรติ สุวรรณคีรี. (2547). ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพ และการประยุกต์ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) (ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม) [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์]. เชียงใหม่: สถานีวิจัยเกษตรเขตชลประทาน ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://mis.agri.cmu.ac.th/download/publication/2220_file.doc.

สุทธญาณ์ สาแหยม, ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และรวีวงศ์ ศรีทองรุ่ง. (2561). การจัดการผักตบชวาในแหล่งน้ำสาธารณะอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเพรางาย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 3(1), 75-107. http://pol.rmu.ac.th/issue.php?issue_id=5.

สุเทวี ศุขปราการ และประเสิรฐ ประภานภสินธุ์. (2545). การกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์พริกด้วยวิธี hydropriming. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 33(4-5), 141-148. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/95439.

อานัฐ ตันโช. (2556). เกษตรธรรมชาติประยุกต์: หลักการ แนวคิด เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. เชียงใหม่. สำนักพิมพ์ทรโอแอดเวร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย.

Copeland, L. O. & McDonald, M. B. (1995). Principles of Seed Science and Technology. (Third Edition.). New York and London: Chapman and Hall.

Kucera, B., Cohn, M. A. & Leubner-Metzger, G. (2005). Plant hormone interactions during seed dormancy release and germination. Seed Science Research, 15, 281-307. https://doi.org/10.1079/SSR2005218

ISTA. (2016). International Rules for Seed Testing Edition International Seed Testing Association (ISTA). CH-Switzer land.