การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำแนกศักยภาพถิ่นที่ขึ้นของ ไม้สัก (Tectona grandis L.f.) ในธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่

Main Article Content

ต่อลาภ คำโย และคณะ

Abstract

วิจัยในครั้งนี้ พบว่า สังคมพืชที่พบไม้สักในธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ เป็นสังคมพืชป่าผสมผลัดใบ มีค่าดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 1.31 ประกอบด้วยพรรณไม้ทั้งหมด 28 วงศ์ 58 สกุล และ76 ชนิดพันธุ์ โดยวงศ์ไม้สำคัญที่สำรวจพบมากในป่าผสมผลัดใบบริเวณนี้คือ Lamiaceae พรรณไม้ที่มีความสำคัญ(IVI) ในสังคม 5 ลำดับแรก ได้แก่ สัก (Tectona grandis) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus)  แดง (Xylia xylocarpa)  สะแกแสง (Cananga latifolia)  ตะคร้อ (Schleichera oleosa) โดยมีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 119.95, 18.77, 17.08, 10.68 และ 10.20 ตามลำดับ จากการสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและคุณสมบัติดินบางประการกับการปรากฏของไม้สักในพื้นที่ด้วยวิธีวิเคราะห์สมการถดถอยแบบเส้นตรง พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในถิ่นที่ขึ้นของไม้สัก ที่ระดับความถูกต้องร้อยละ 62 ประกอบด้วย ความลาดชัน ระดับความสูง ระยะห่างจากแหล่งน้ำ  ทิศด้านลาด อนุภาคดินทราย อนุภาคดินร่วน อนุภาคดินเหนียว ความเป็นกรดด่าง อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม การจำแนกศักยภาพของถิ่นที่ขึ้นของไม้สักด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่ามีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก ปานกลาง และ น้อย มีค่าเท่ากับ 48685.82 ไร่, 139064.73 ไร่ และ 96468.2 ไร่ ตามลำดับ

 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมอุทยาน สัตว์ป่าและพืชพรรณ. (2551). อุทยานแห่งชาติแม่ยม. แหล่งที่มา,http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=138&lg=1

คณะทำงานปรับปรุงมาตรฐาน การวิเคราะห์ดิน พืช น้ำ และปุ๋ยเคมี. (2536). วิธีวิเคราะห์ดิน. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์. (2552). นิเวศวิทยาป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ต่อลาภ คำโย. (2550). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำแนกศักยภาพถิ่นที่ขึ้นของไม้กฤษณาในธรรมชาติ บริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.