การพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม 2) ศึกษาคุณภาพของแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบคุณภาพแอพพลิเคชั่นเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาเพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดมหาสารคาม ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ดีมากที่สุดและมีคุณภาพมากที่สุด นักศึกษาที่ทดลองใช้แอพพลิเคชั่นมีความพึงพอใจ ต่อการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
[2] เทียนชัย ให้ศิริกุล.(2538). บทบาทของประชาชนท้องถิ่นที่มีต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม กรณีศึกษา : ปราสาทหินพนมรุ้งและปราสาทหินกู่สวนแดง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
[3] นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์.(2539). “วัฒนธรรมยุคโลกานุวัตร,” ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 15.
[4] นฤมล ลับลิพล และศรุติ อัศวเรืองสุข.(2554). โปรแกรมอ่านภาพอักขระภาษาไทยบน Android. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ออนไลน์).
จาก http://std.kku.ac.th/5130202764/home/file/csc17 _progress1_final.pdf
[5] Stair, Raiph M. (1996). Principle of Information Systems. Kentucky: Lexington.
[6] สุกัญญา สุดดี. (2555). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นชำระค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์.วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.