การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง งานเกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

รุ่งอรุณ ดวงวรรณลี

บทคัดย่อ

การพัฒนาโปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง งานเกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องงานเกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และ 4) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2555 โรงเรียนบ้านสระบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต  2  จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ ได้แก่ โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง งานเกษตรน่ารู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่  6 แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบโปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ Dependent Samples t-test


              ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปรากฏดังนี้ 1. โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องงานเกษตรน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 843/83.00 2. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนโดยใช้โปรแกรมโดยใช้โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเท่ากับ6909 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[2] พัลลภ พิริยะสุรวงศ์.(2543).เทคโนโลยีสารสนเทศกับการปฏิรูปการศึกษา.พัฒนาเทคนิคการศึกษา.13 (เมษายน-มิถุนายน 2543),39-41.
[3] กิดานันท์ มลิทอง.(2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[4] ไชยยศ เรืองสุวรรณ.(2552).การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 13.มหาสารคาม:ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[5] ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :ด่านสุทธาการพิมพ์, 2550.
[6] สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.(2555).ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicSt at.aspx.
[7] พันทิวา ภูกองชัย. (2552).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน
กับการเรียนแบบปกติ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[8] บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
[9] รังสรรค์ นันทะแสน.(2554).การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การปลูกกล้วยน้ำหว้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.การค้นคว้า
อิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[10] อนงค์ โพธิ์แสง.(2552).การพัฒนาชุดสื่อประสม เรื่อง การเพาะเห็ดนางฟ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[11] มานิดา สุชาติพงศ์.(2552). “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องบ้านและความเป็นอยู่ใน บ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3” ปริญญา
คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.