มหาวิทยาลัยสีเขียว : การดำเนินงานกรีนไอที

Main Article Content

ธรัช อารีราษฎร์, Ph.D.

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอแนวทางการดำเนินงานมหาวิทยาลัยสีเขียว  และแนวทางการดำเนินงานกรีนไอทีในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะสนับสนุนการดำเนินงานนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว  โดยส่งผลช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัย  จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย  พบว่า  การดำเนินงานมหาวิทยาลัยสีเขียว จำเป็นต้องดำเนินการในทุก ๆ มิติ หรือทุกด้าน ๆ ตามกรอบของการจัดอันดับมหาวิทยาลัย
สีเขียวของมหาวิทยาลัยทั่วโลกโดย UI Green Metric Ranking of World Universities 2012 จัดโดย University of Indonesia  ได้แก่  สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
การจัดการขยะ การใช้น้ำ การจัดการระบบขนส่ง  และความสามารถในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน  ในส่วนของการดำเนินงานกรีนไอทีจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า  ลดค่าใช้จ่ายขององค์กร  โดยขอบข่ายการดำเนินงานจะต้องครอบคลุมทั้งในส่วนของบุคลากร  หน่วยงานระดับคณะ สำนัก ศูนย์ หรือสาขา  และในระดับมหาวิทยาลัย  ในส่วนของการดำเนินงานจะต้องอบรมให้บุคลากรมีความรู้เรื่องกรีนไอที  มีการรณรงค์ในเรื่องกรีนไอที  มีการปฏิบัติตามแนวทางกรีนไอที  โดยในปัจจุบันได้มีการผลิตเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น ซอฟท์แวร์ช่วยประหยัดพลังงาน การประมวลผลแบบคลาวด์  ธินไคลแอนต์ เบลดเซิร์ฟเวอร์ และเทคโนโลยีเสมือนหรือเวอร์ซวล  เป็นต้น  ทั้งนี้ในการดำเนินงานจะต้องเน้นการมีส่วนร่วมของประชาคมในมหาวิทยาลัย ได้แก่ บุคลากร นักศึกษา  ผู้ประกอบการธุรกิจในมหาวิทยาลัย  ตลอดจนชุมชนนอกมหาวิทยาลัย  เพื่อให้การดำเนินงานมหาวิทยาลัยสีเขียว และการดำเนินงานกรีนไอที มีความยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] ธวัชชัย บัวขาว และมนสิชา เพชรานนท์. การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติสู่มหาวอทยาลัยสีเขียว : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิน วิทยาเขตพัทลุง. Arch Journal Issue 2010
Vol. 14, pp. 40-55.
[2] ปิยะมาศ สามสุวรรณ และ สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์. การมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
สุราษฎร์ธานี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2,2552, หน้า 1-6.
[3] University of Indonesia. UI Green Metric Ranking of World Universities 2012. [online] Available at http://greenmetric.ui.ac.id/ [20/3/2557].
[4] เทวา คำปาเชื้อ. เทคโนโลยีสารสนเทศสีเขียว.วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 มกราคม - มิถุนายน 2552, หน้า 63-66.
[5] วิรินทร์ เมฆประดิษฐสิน. แนวโน้มและเหตุผลในการประยุกต์ใช้ Green IT ที่ควรพิจารณาก่อนที่จะสายเกินแก้. วารสารไมโครคอมพิวเตอร์ ปีที่ 29 ฉบับที่ 313 สิงหาคม 2011, หน้า 63-77.
[6] Chris Dickson. Green IT at Cardiff University – Overview [online] Available at www.cardiff.ac.uk/insrv/chris-dickson [10/1/2014].
[7] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. แผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2556-2560. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2556.
[8] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. แผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2555.
[9] สันทนา อมรไชย. ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 57 ฉบับที่ 179 มกราคม 2552, หน้า 29-36.
[10] มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. ลักษณะของมหาวิทยาลัยสีเขียว. ([ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก www.psru.ac.th/pdf/logo_ contest.pdf [20/3/2557].
[11] ทรงยศ สุรีรัตนันท์. กรีนไอที : เทคโนโลยีสารสนเทศที่พอเพียงและยั่งยืน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พ.ค. - ส.ค. 2553, หน้า 393-398.
[12] ธรัช อารีราษฎร์ และคณะ. การศึกษากรอบการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ. งานประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ NCCIT-2014. วันที่ 8-9
มิถุนายน 2557 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[13] บริษัท เมอร์ลินส์โซลูชั่นส์ อินเตอร์แนชั่นนัล จำกัด. Green IT Solutions. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.merlinssolutions.com/2014/01/green-it-solutions/ [10/1/2014].