การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม

Main Article Content

ทวีสุข โภคทรัพย์
Jakkri Tumman

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอน ความต้องการ  และแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ  การส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษา    ผลการทดลองใช้กิจกรรมรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม  4) เพื่อศึกษาการยอมรับ และการนำไปใช้ของผู้เรียนหลังจากผ่านการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายระยะที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินกรอบสมรรถนะการใช้ไอซีที จำนวน12 คน ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเอก พลศึกษา กลุ่มทดลอง 30 คน ระยะที่ 3 ได้แก่ นักศึกษากลุ่มทดลองจริงภาคสนาม  ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเอกพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา จำนวน 32 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประเมิน กรอบสมรรถนะด้านไอซีที แบบประเมินรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เข้ารับการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที  แบบประเมินคู่มือการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที และแบบประเมินการยอมรับรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน    หาประสิทธิภาพของรูปแบบตามแนวคิดของเมกุยแกนส์


                 ผลการวิจัยพบว่า 


                 1. ผลการศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสารของนักศึกษา พบว่า นักศึกษายังไม่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ได้ นักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นนักกีฬา และเรียนรายวิชาทาง เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย หลักสูตรที่เรียนเป็นหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต จบแล้วเป็นครูทางพลศึกษา  มีการออกฝึกสอนตามโรงเรียน  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมาหาสารคาม จึงได้ตระหนักให้นักศึกษาเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารทางการศึกษา เพื่อพัฒนาสื่อการสอน และรูปแบบการสอนที่ทันสมัยนำไปใช้กับการเรียนการฝึกสอนต่อไป


                 2. ผลการศึกษากรอบสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ได้แก่ 1) ความรู้  มี 4 ตัวชี้วัด 2) การใช้โปรแกรมมี 5 ตัวชี้วัด 3) การสืบค้นมี 3 ตัวชี้วัด และ 4) การนำเสนอ     มี 1 ตัวชี้วัด


                  3. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที มี 6 องค์ประกอบไดแก่ 1) นโยบายหลักการ 2) กรอบสมรรถนะด้านไอซีที 3) การทดสอบสมรรถนะ4) กระบวนการส่งเสริมสมรรถนะ 5) สื่อสังคมออนไลน์ และ 6) ตัวชี้วัด


                   4. ผลการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมตามรูปแบบมีค่า มากกว่า 1 ถือว่าประสิทธาภาพสูง สามารถนำไปส่งเสริมสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการทดลองด้านความรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                   5.ผลการทดลองด้านปฎิบัติผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 80 ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ารับการอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาการยอมรับรูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ระดับการยอมรับนักศึกษาที่เข้าอบรม พบว่าอยู่ในระดับมาก 

Article Details

บท
บทความวิจัย