การเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงกับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังภายใต้แบบจำลองการตั้งราคาหลักทรัพย์ (Capital Asset Pricing Model: CAPM) ของหลักทรัพย์หมวดพลังงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

Main Article Content

นิรุติ ไล้รักษา
วิษณุ ภูมิพานิช
เกษม นันทชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงกับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังภายใต้แบบจำลองการตั้งราคาหลักทรัพย์ (Capital Asset Pricing Model: CAPM) ของหลักทรัพย์หมวดพลังงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย วิธีการหาอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังของหลักทรัพย์หมวดพลังงาน และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการศึกษา จะอาศัยแบบจำลองการตั้งราคาหลักทรัพย์ (Capital Asset Pricing Model: CAPM) โดยใช้รูปแบบสมการ และวิธีการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงของหลักทรัพย์หมวดพลังงาน และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากแบบจำลอง CAPM ของหลักทรัพย์หมวดพลังงาน และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการศึกษานี้จะอาศัยโปรแกรมทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง คือ
t-test เป็นการทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างศึกษารวบรวมจากรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้งตลาด ราคาปิด และเงินปันผลของหลักทรัพย์ 2 หมวดธุรกิจคัดเลือกจากมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capital) สูงที่สุดและมีอัตราเงินปันผลสูงที่สุด ได้แก่ หมวดพลังงาน และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกมาหมวดละ 5 หลักทรัพย์ จาก 5 อันดับแรกพิจารณามูลค่าตามราคาตลาดสูงสุดของแต่ละหมวด รวมทั้งหมด 10 หลักทรัพย์ ได้แก่ PTT PTTEP GLOW TOP EGCO ADVANC TRUE INTUCH DTAC JAS ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์จะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษาคือ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2557 เป็นเวลา 5 ปี


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างหลักทรัพย์ในหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทุกหลักทรัพย์ของหมวดมีอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงกับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังภายใต้แบบจำลองการตั้งราคาหลักทรัพย์ (Capital Asset Pricing Model: CAPM) ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Chandar, Prasanna. (2011). Finanacial Management. India: Tata McGraw-Hill Education.
[2] Michale C. Ehrhardt, Eugene F. Brigham. (2011). Financial Management: Theory and Practice (Thirteenth ed.). United States of America: South-Wastern Cengage Learning.
[3] Chan, Louis KC, & Lakonishok, Josef. (2004). Value and growth investing: Review and update. Financial Analysts Journal, 71-86.
[4] Petkova, Ralitsa, & Zhang, Lu. (2005). Is value riskier than growth? Journal of Financial Economics, 78(1), 187-202.