การพัฒนาครูในการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับโรงเรียนบ้านโนนราษีฝางวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

สงวนศักดิ์ อาสาทำ

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาวิธีการพัฒนาครูในการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนบ้านโนนราษีฝางวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 2) ศึกษาผลการเรียนรู้การพัฒนาครูในการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ 3)  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและพนักงานราชการโรเรียนบ้านโนนราษีฝางวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบวัดความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม  แบบทดสอบความรู้   และแบบสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เข้ารับการฝึกอบรม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาครูในการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 15.69

  3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีการเปลี่ยนแปลงการกระทำที่ดีขึ้น โดยมีการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมระหว่างเพื่อนครู และนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ร้อยละ 90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สรัชนา เจริญวัฒนาวาณิชย์. (2547). การพัฒนาครูด้านการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนโรงเรียนบ้านอ้น อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[2] กองวิจัยทางการศึกษา. (2546). การรายงานการติดตามและการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
[3] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
[4] สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน ). (2548). รวมกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา . กรุงเทพฯ : พิมพดี.
[5] คะนึงนิจ กองผาพา. (2543). การพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนอาชีวะศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน เขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[6] วิโรจน์ สารัตถะ. (2545) . โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้ :แนวคิดทางการบริหารการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ ทิพย์วิสุทธิ์
[7] ศศิธร อ่อนปุย. (2546). การพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนมหาชนะชัย สังกัดกรมสามัญ จังหวัดยโสธร. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม.
[8] พนัส หันนาคินทร์. (2530). หลักการบริหารโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช
[9] บุญชุม ศรีสะอาด.(2545).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีระยาสาส์น.
[10] ไพศาล ศรีสำราญ. (2549). การประเมินผลการฝึกอบรมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (พัฒนานักวิจัยระดับโรงเรียน) โดยใช้รูปแบบของเคิร์กแพทริค. ศูนย์วิจัยและประเมินผลการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1.