การพัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการ สำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

วรปภา อารีราษฎร์
ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการ สำหรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 2) ศึกษาการยอมรับของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ส่งบทความ (Author) จำนวน 105 คน และผู้พิจารณาบทความหรือผู้ประเมินอิสระ (Peer) จำนวน 50 คน  เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการยอมรับที่มีต่อระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการ  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


      ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบของระบบสารสนเทศการประชุมวิชาการในด้านผู้ใช้งาน 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ส่งบทความ ผู้พิจารณาบทความหรือผู้ประเมินอิสระ  และผู้ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการหรือแอดมิน รวมทั้งหมด 6 โมดูล ได้แก่ 1.1) Communication Module 1.2) Authentication Module 1.3) Author Module 1.4) Peer Module 1.5) Paper Module และ 1.6) Management Module 2) ผู้ใช้ระบบยอมรับระบบโดยรวมในระดับมากที่สุด และรายด้านทั้ง 3 ด้าน ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557ก). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ.
[2] เพ็ญศรี ฉิรินัง.(2550) การพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย : ศึกษาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยของรัฐ และหาวิทยาลัยเอกชน. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
[3] สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557ข). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ.
[4] สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557ค). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ.
[5] สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). [ออนไลน์]. ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. KMITL Information Technology Journal (Jan. – Jun. 2012). [สืบค้นเมื่อ
10 กรกฎาคม 2557]. จาก http://journal.it.kmitl.ac.th.
[6] กรกฏ ช่วยพันธุ์. (2553). การพัฒนาระบบงานสารบรรณ โรงเรียนบ้านบึงทับปรางค์ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[7] Stair, R.N. (1996). Principle of Information System A Managerial Approach.2nd ed. Massachusetts : Boys – Fraser.
[8] Best, John. W. (1997).Research in Education.3nd. Ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice-Hell,Inc.