ผลการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยภาษาซี โดยใช้เรสพ์เบอรรี่ไพ

Main Article Content

วรปภา อารีราษฎร์
อภิชาติ เหล็กดี
ธเนศ ยืนสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Raspberry Pi กับอุปกรณ์ภายนอก 2) ศึกษาทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยภาษาซี 3) ศึกษาการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ Raspberry Pi สู่โครงงาน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมโดยใช้ Raspberry Piประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 45 คน คัดเลือกโดยวิธีการเจาะจง จากนักศึกษาที่สมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมโดยใช้ Raspberry Pi


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ Raspberry Pi กับอุปกรณ์ภายนอกโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักศึกษามีทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยภาษาซีโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์ในการสร้างโครงงานโดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ  4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยภาษาซี โดยใช้ Raspberry Pi อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] อภิชาติ เหล็กดี. (2556). “การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการเตรียมความพร้อมนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,” ใน การประชุมวิชาการระดับ
ชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 1“สร้างสรรค์ภูมิ ปัญญา เพื่อพัฒนาสู่อาเซียน”. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
[2] จีระศักดิ์ สุวรรณโณ. (2557). คู่มือการอบรมหลักสูตร Raspberry Pi. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
[3] ณัฐวี อุตกฏษณ์. (2558). เทคนิคการสอนด้วยวิธี MIAP. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2558]. จาก http://202.44.34.144/kmit/ knowledge_ detail.php?IDKM=343.
[4] วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
[5] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟต์แวร์การศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
[6] นราธร สังข์ประเสริฐ.(2555).การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่เรียนเสริมโดยใช้ใบงานฝึกปฏิบัติการอันตรกิริยาระหว่างฮาร์ดแวร์และ
ซอฟต์แวร์ผ่านทางพอร์ตขนาน. สงขลา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.