การพัฒนาชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาและชุมชนที่มีต่อการอบรมโดยชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาและชุมชนที่มีต่อการนำไปใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้ตามตัวแบบ TAM กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย จำนวน 60 คน กลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการจัดการเทคโนโลยี จำนวน 25 คนและกลุ่มที่ 2 เป็นชุมชนที่สมัครเข้าอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในเดือนมกราคม 2559 จำนวน 35 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้ แบบประเมินชุดฝึกอบรม แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมและแบบสอบถามการยอมรับและนำไปใช้เทคโนโลยีตามตัวแบบ TAM และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกอบรมการประยุกต์ใช้ Google Application เพื่อการเรียนรู้ประกอบด้วยเนื้อหาการอบรม 5 หน่วย คือ Google Drive, Google Calendar, Google Picture, Google Translate และ Google Map ใช้เวลาในการอบรม 4 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าความเหมาะสมของชุดฝึกอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม นักศึกษาและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการอบรมโดยชุดฝึกอบรมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และ 3) ชุมชนและนักศึกษาให้การยอมรับและนำไปใช้ Google Application โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ministry/2012-08-15-09-45-26/item/93979-93979.html
[2] เดชพล ใจปันทา. (2559). กิจกรรมการส่งเสริมครูประยุกต์ใช้สื่อประสมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม
[3] สมฤทธิ์ ขจรโมทย์. (2559). การบริหารจัดการการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[4] วรปภา อารีราษฎร์. (2558). การพัฒนานวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
[5] ธรัช อารีราษฎร์. (2558). รูปแบบการดำเนินงานกรีนไอทีสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
[6] วีระศักดิ์ ปัตตาลาโพธิ์. (2558). “การศึกษาการยอมรับรูปแบบการเตรียมความพร้อมสถานศึกษาเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต,” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ
การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. หน้า 65-71.
[7] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.