การพัฒนาสื่อเรียนรู้เสมือนจริงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายพาโนรามา 360 องศา กรณีศึกษา : เว็บไซต์ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ดุลยเทพ ภัทรโกศล

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อเรียนรู้เสมือนจริงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2) ศึกษาประสิทธิภาพสื่อรู้เสมือนจริงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อเรียนรู้เสมือนจริง 360 องศาบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และบุคคลทั่วไป จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่ออิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริง 360 องศา 2) แบบวัดประสิทธิภาพสื่อเรียนรู้เสมือนจริง 360 องศา และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อที่พัฒนาขึ้น  สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อเรียนรู้เสมือนจริงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนในการจัดทำสื่อเสมือนจริง 360 องศา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผนการดำเนินงานซักซ้อมความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพเพื่อพัฒนาและออกแบบสื่อเสมือนจริง 360 องศา ขั้นดำเนินการเผยแพร่สื่อเสมือนจริง 360 องศาผ่านทางเว็บไซต์ http://vkp.msu.ac.th  และขั้นเผยแพร่ผลงานผ่านทางเว็บไซต์ 2) สื่อรู้เสมือนจริงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 3) ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อสื่อเรียนรู้เสมือนจริง 360 องศาบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2544).หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร:คุรุสภาลาดพร้าว
[2] กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542 ก). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ . กรุงเทพ : คุรุสภาลาดพร้าว.
[3] กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที 2 กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุนการพิมพ์.
[4] พิสุทธา อารีราษฎร์ .(2552). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[5] ดารณี พานทอง และ สุรเสกข์ พงษ์หาญยุทธ. (2542). ทฤษฎีการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.