แอพพลิเคชันรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี ตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอ บนมือถือระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์

Main Article Content

ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอพพลิเคชันรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอบนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยใช้สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นกรณีศึกษา และ 2) ประเมินการยอมรับแอพพลิเคชัน  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวภายในจังหวัดเพชรบุรี และใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอพพลิเคชันรับรู้และแสดงตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยวตามการจำแนกกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกูเกิ้ลแมพเอพีไอ บนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และแบบสอบถามการยอมรับจากผู้ใช้  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


      ผลการวิจัยพบว่า 1) แอพพลิเคชันที่พัฒนา ประกอบด้วยฟังก์ชันหลัก ๆ 6 ฟังก์ชัน คือ Present Main Page, Change Map Style, Search, Track Place, List Place, และ Rate Place  และ 2) ผลการใช้งานแอพพลิเคชันที่พัฒนา โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). จังหวัดเพชรบุรี. [ออนไลน์]. ที่มา : http://thai.tourismthailand.org/ข้อมูลจังหวัด/เพชรบุรี.
[2] สุวิวิชญ์ อินทรภิรมย์. (2554). ระบบนำทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย กูเกิ้ลแมพเอพีไอ บนมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
[3] ทวีพร โปร่งจิตร. (2555). การพัฒนาระบบค้นหาที่ทำการไปรษณีย์ โดยใช้เทคโนโลยีจีพีเอสบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
[4] นัยณา แก้วบ้านดอน. (2557). Development of Innovative Learning (iLearning) to Enhance Smart Teachers and Smart Student.International Conference Education and
Leadership in Glocalization: What does “think globally act locally” mean for education around the world? (ELGIC 2014).
[5] Martin, James (1991). Rapid Application Development. Macmillan. ISBN 0-02- 376775-8.
[6] Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York :
Wiley & Son
[7] ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.