ระบบบริหารงานฌาปนกิจสงเคราะห์ ชุมชนบ้านคลองอุดม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบซอฟต์แวร์บริหารงานฌาปนกิจสงเคราะห์ ชุมชนบ้านคลองอุดมสำหรับจัดเก็บข้อมูลของสมาชิก 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบบริหารงานฌาปนกิจสงเคราะห์ ชุมชนบ้านคลองอุดมส่วนใหญ่ กลุ่มเป้าหมายคือคณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชนบ้านคลองอุดมจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ระบบและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบซอฟต์แวร์บริหารงานฌาปนกิจสงเคราะห์ที่พัฒนาระบบด้วยกระบวนการ เอไจล์ ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในด้านการบันทึกข้อมูล การแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูล การเพิ่มข้อมูล สืบค้นข้อมูลและการออกรายงานเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 2) กรรมการและสมาชิก ของสถาบันการเงินชุมชนบ้านคลองอุดม มีความพึงพอใจการใช้ระบบที่พัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
จาก http://www.scrumguides.org/docs/scrumguide/v1/scrum-guide-us.pdf
[2] ภัทรกร ศรีมณี. (2552). การพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยใช้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
แบบเอ็กซ์ทรีมโปรแกรมมิง. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[3] วราพร จิระพันธุ์ทอง. (2554). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโปรดักต์ไลน์และ
แบบน้ำตก. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
[4] มาณวิกา กิตติพร. (2550). การประเมินประสิทธิภาพของ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ แบบยูนิฟายด์และเอกซ์ตรีม โปรแกรมมิ่ง กรณีศึกษา : การพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบลูกหนี้เงินยืม
ทดรอง. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[5] มัสยา ลืนภูเขียว. (2555). ระบบฌาปนกิจสงเคราะห์. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
[6] Best, John. W. (1997). Research in Education. 3nd. Ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice-Hell,Inc.