การพัฒนางานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการให้บริการโครงการ ขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วรปภา อารีราษฎร์
ธรัช อารีราษฎร์
อภิชาติ เหล็กดี
จักรี ทำมาน

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  พัฒนางานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการให้บริการโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ศึกษาผลการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการให้บริการโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 380 คน จาก 190 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ที่ขอรับบริการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจากมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย และสถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


       ผลการวิจัย พบว่า  1) การพัฒนางานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมการให้บริการโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นกระบวนการทานแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเครือข่าย ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การรับรู้ ขั้นที่ 2 การวางแผน ขั้นที่ 3 การให้บริการ ขั้นที่ 4 การติดตาม และขั้นที่ 5 การสะท้อนผล และ 2) ผู้บริหารและครูมีความพึงพอใจในการให้บริการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุดตามลำดับคือ ผลกระทบ (Outcome) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลลัพธ์การทำงาน (Output) และ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2557). รายงานการดำเนินโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: สื่ออีดีแอลทีวี. จังหวัด
มหาสารคาม.
[2] คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2559). เว็บไซต์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้นจาก www.itrmu.net
[3] ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง. (2559). มาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/policy/policy_ICT.pdf
[4] กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning: 2556. สืบค้นจาก www.most.go.th/main/index.php/service/information.../2688-edltv-
elearning.html
[5] วรปภา อารีราษฎร์. (2556). รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้สื่ออีดีแอลทีวีโรงเรียนขนาดเล็ก เครือข่ายสื่ออีดีแอลทีวีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[6] วรปภา อารีราษฎร์. (2555). รูปแบบกิจกรรมค่ายอาสาเครือข่ายอีดีแอลทีวีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[7] สมเจตน์ ภูศรี. (2555). รูปแบบการเผยแพร่ ถ่ายทอด และพัฒนาสื่อ eDLTV เครือข่ายความ ร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: รายงานการดำเนินงานเครือข่ายเผยแพร่ ถ่ายทอด และ
พัฒนาสื่อการเรียนการสอนบนระบบ e-Learning (eDL-Square). มหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[8] สมเจตน์ ภูศรี, และคณะ. (2553). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
[9] Best, John W. (1997). Research in Education. ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice – Hell, lnc.
[10] อภิชาติ เหล็กดี, สมเจตน์ ภูศรี, และ วรปภา อารีราษฎร์. (2559). การพัฒนากิจกรรมค่ายอาสาโดยใช้วัฏจักร PAOR เพื่อการเรียนรู้สื่ออีดีแอลทีวี สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, No.7(2), 259-267.