การศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค EDFR
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด แบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิค EDFR รอบที่ 1 2) แบบสอบถามแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม EDFR รอบที่ 2 และ 3) แบบสอบถามแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม EDFR รอบที่ 3 สถิติที่ใช้ ได้แก่ มัธยฐาน และผลต่างของควอไทล์ที่ 1 และ 3
ผลการวิจัย พบว่า แนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม มีผลแยกตามแต่ละด้านดังนี้ 1) ปัจจัยด้านหลักการและแนวคิดในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ประสบความสำเร็จ จัดแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ หลักการและแนวคิดด้านวัฒนธรรม หลักการและแนวคิดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงาน ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 อยู่ระหว่าง 0-1 2) องค์ประกอบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน ให้ประสบความสำเร็จ จัดแบ่งเป็นแต่ละด้าน ได้แก่ องค์ประกอบการบริหารจัดการ ประกอบไปด้วย โครงสร้าง กลยุทธ์ ระบบและการจัดการ และทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 อยู่ระหว่าง 0-1 และ 3) แนวทางการนำ/ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จัดแบ่งเป็นแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการนำเสนอสารสนเทศผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ด้านขอบข่ายของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านลักษณะของสื่อที่นำเสนอ และด้านการจัดทำฐานข้อมูลนักท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติร่วมกันในทุก ๆ ด้าน ในระดับมาก โดยที่ค่ามัธยฐานมีค่า 5 และผลต่างระหว่างควอไทล์ที่ 3 และ 1 อยู่ระหว่าง 0-1
Article Details
References
[2] กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2556). การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: รายงานการวิจัย. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาการเทคโนโลยีสังคม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
[3] เปรมจิต พรหมสาระเมธี. (2553). การพัฒนาศักยภาพแห่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[4] Peter and Waterman Jr. (1980). INSEARCH OF EXCELLENCE : Lessons From America’s Best-Rum Companies. New York : Harper & Row.
[5] ณัฐทิภรณ์ ดัสกรณ์. (2556). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนด้วยเทคนิค EDFR ของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[6] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2549). การปฏิรูปการเรียนรู้โดยอาศัยคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต)สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[7] วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.