การพัฒนาระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ 2) เพื่อทดลองใช้และประเมินระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม จำนวน 50 คน อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ 2) แบบประเมินคุณภาพระบบตรวจสอบลายผ้าไหม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ จังหวัดมหาสารคาม มีความทันสมัย สะดวกต่อการนำไปประยุกต์ใช้งาน 2) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการทดลองใช้และประเมินระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ อยู่ในระดับมาก (4.13) 3) กลุ่มตัวอย่างได้ประเมินการใช้ระบบตรวจสอบลายผ้าไหมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มอาจารย์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก กลุ่มเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับมาก และกลุ่มนักศึกษา อยู่ในระดับมาก (4.15)
Article Details
References
INFORMATION SCIENCE AND TECHNOLOGY. 1(1). 54-62.
[2] มาวสี ศาลาสุข. (2554). การศึกษาแนวทางการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่. สืบค้นจาก http://service.nectec.or.th/project0/
pgShowPrj.php? chrFlg01=1&chvCodPrj=P1010555&color=brown.
[3] มิติรุ จานุรักษ์ และ วุฒิพงศ์ อารีกุล. (2544). การวัดประชากรเพลี้ยแป้งด้วยการประมวลผลภาพ. Electrical Engineering Conference.
[4] ไพโรจน์ คล้ายเพ็ชร์. (2556). วิธีการวัดสีแผ่นพิมพ์ธนบัตรด้วยการประมวลผลภาพดิจิทัล เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์สีพื้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[5] เจษฎา โพนแก้ว. (2558). การพัฒนาโปรแกรมวิเคราะห์ลายผ้าไหมมัดหมี่ของชน 4 เผ่าเพื่อระบุแหล่งที่มาใน จังหวัดศรีสะเกษ โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัย
วิจัยแห่งชาติภายใต้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://sisaketsilk.net.
[6] พิสุทธา อารีราษฏร์. (2551) การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.