การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

สุนันทา กลิ่นถาวร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐาน และ 4)  ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1)  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ประเมินรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน 3 คน และ 2)  นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน  27  คน  สถิติที่ใช้ คือ  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าดัชนีความสอดคล้อง  ค่าความเชื่อมั่น ค่าประสิทธิภาพของการพัฒนาการเรียนรู้ และค่า paired t-test


            ผลการวิจัยพบว่า  1)  รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการแก้โจทย์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีปัญหาเป็นฐานที่พัฒนามีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/80.37  2) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด 3) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552, ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2548. ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548.
[3] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2559). หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์. มหาสารคาม.
[4] สายชล จินโจ. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต).
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพ ฯ.
[5] วิทยา อารีราษฎร์. (2549). การพัฒนารูปแบบการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแบบอัจฉริยะและมีส่วนร่วมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพ ฯ.
[6] ฆนัท ธาตุทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของ
ประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
[7] เยาวลักษณ์ พรมศรี. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้เทคนิคการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ เรื่อง
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[8] สำราญ วานนท์ และคณะ. (2559). ระบบบริหารงานฌาปนกิจสงเคราะห์ ชุมชนบ้านคลองอุดม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(1), 80-85.
[9] ประวิทย์ สิมมาทัน. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. (วิทยานิพนธ์
ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[10] กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2548). การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐาน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์.