ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตรเพื่อการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง ในเขตภาคอีสานตอนกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการผลผลิตทางด้านการเกษตรเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง และ 2) ทดลองใช้เครื่องมือการพัฒนาสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเว็บไซต์ของ Google Map API และการประยุกต์ใช้ขั้นตอนวิธีทางพันธุกรรมเพื่อแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างในเชิงพื้นที่การวิจัยในเขตพื้นที่แต่ละอำเภอในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางที่ประกอบด้วยจังหวัด กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคามและขอนแก่น และ พืชตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยพืช 4 ชนิด ได้แก่ 1) ข้าวเจ้านาปี กลุ่มพืชข้าว 2) อ้อยโรงงาน กลุ่มพืชไร่ 3) มันสำปะหลังโรงงาน กลุ่มพืชไร่ และ 4) แตงโมเนื้อ กลุ่มพืชผัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการทางแผนที่หรือภูมิศาสตร์ หรือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่น โดยใช้ Google Map API
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการผลผลิตทางด้านการเกษตรเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) ส่วนแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ (2) ส่วนประมวลและการหาคำตอบด้วยขั้นตอนวิธีทางพันธุกรรม(3) การร้องขอและการเก็บข้อมูล และ (4) ส่วนการประมวลผลของระบบแสดงผลเป็นแผนที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นเป็นรูปภาพและเชื่อมโยงเชิงพื้นที่แต่ละอำเภอรอบข้างได้ และสร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้งานโดยระบบช่วยค้นหาชื่อสถานที่ของคำตอบในรายละเอียดระดับตำบลและแสดงปริมาณน้ำหนักของผลผลิตทางการเกษตรของพืชนั้นๆ และ 2) ผลการทดลองใช้ระบบ พบว่าระบบสามารถจัดกลุ่ม หาตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์กลางแต่ละกลุ่มและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรรวมของแต่ละกลุ่มได้
Article Details
References
[2] เจ๊ะอาซียะ มามะ, ฮามีดะ เจะแต, ศีริรัตน์ วณิชโยบล, และ ลัดดา ปรีชาวีรกุล. (2558). ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ โรงเรียนกัลป์ยาณชนรังสรรค์มูลนิธิ มัสยิดบ้านเหนือ ใน การประชุมวิชาการ
งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 7. (น.30-34). ตรัง:
[3] ณรรฐวรรณ์ พูลสน, ปริวรรต คำคุณคำ, และ อรรถพล หัตถะปนิตย์. (2557). ระบบสารสนเทศจัดการแปลงเพราะปลูกอ้อย ใน The Tenth National Conference on Computing and
Information Technology. (น.859-864). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[4] Hassan Mishmast Nehi and Shahin Gelareh. (2007). A Survey of Meta-Heuristic Solution Methods for the Quadratic Assignment Problem. Applied Mathematical
Sciences, 1(46), 2293 – 2312.