การออกแบบออนโทโลยีเพื่อบรูณาการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการเกษตรในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณการใช้น้ำเพื่อการเกษตรในชุมชนต้นแบบ 2) ออกแบบออนโทโลยีเพื่อบรูณาการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน และ 3) ประเมินการรับรองออนโทโลยีเพื่อบรูณาการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย มี 2 กลุ่มได้แก่ 1) เกษตรกรในชุมชนทับน้ำ อำเภอบางประหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผู้ปลูกข้าวจำนวน 30 คน และเป็นผู้ปลูกมันเทศจำนวน 30 คน และ 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านออนโทโลยีจำนวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชนจำนวน 3 คน
ผลการวิจัยพบว่า : 1) ผลการสำรวจแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชนทับน้ำพบว่า ชุมชนทับน้ำมีแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรที่เป็นหัวใจหลัก 5 ฝาย คือ ฝายคลองสานใช้เป็นพื้นที่เก็บน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรหมู่ที่ 1 ความจุ 24,000 ลบ.ม ฝายปู่เฒ่าใช้เป็นพื้นที่เก็บน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรหมู่ที่ 2 ความจุ 127,500 ลบ.ม ฝายบ้านกลางใช้เป็นพื้นที่เก็บน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรหมู่ที่ 3 ความจุ 52,500 ลบ.ม ฝายทับน้ำใช้เป็นพื้นที่เก็บน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรหมู่ที่ 4 ความจุ 105,000 ลบ.ม และ ฝายปลายน้ำใช้เป็นพื้นที่เก็บน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรหมู่ที่ 5 ความจุ 150,000 ลบ.ม 2) ออนโทโลยีเพื่อบรูณาการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชนที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในครั้งนี้ประกอบด้วยแนวคิดและส่วนที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งน้ำ, การกระจายน้ำ, พื้นที่การเกษตรและพืชพันธุ์ ผลการประเมินการออกแบบโครงสร้างออนโทโลยีเพื่อบรูณาการองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านออนโทโลยี มีความเห็นรับรองอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
[2] จักรวาล พิมลตรี. (2555). การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลนาเพียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
ขอนแก่น.
[3] Dragan, G., Dragan, D. and Vladan, D. (2006). Model driven architecture and ontology development. New York: Springer Berlin Heidelberg.
[4] T.R.Gruber.(1993). A Translation Approach to PortableOntology Specifications. Knowledge Acquisition, pp.199-220.
[5] วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ. (2550). ออนโทโลยีกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
[6] วิชุดา โชติรัตน์, ผุสดี บุญรอด, และศจีมาจ ณ วิเชียร. (2554). การพัฒนาฐานความรู้ออนโทโลยีสาหรับวิเคราะห์ข่าวออนไลน์โดยอัตโนมัติ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7 (17), 13-18.
[7] โรสริน อัคนิจ, ธนิต พุทธพงศ์ศิริพร, น้าฝน ลาดับวงศ์, และ อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ. (2554). การพัฒนาออนโทโลยีเพื่อการจัดการความรู้ด้านการแปรรูปข้าว. วารสารเกษตร, 27(3), 267-274.
[8] Broughton, V. (2006). Essential thesaurus construction. London: Facet Publishing.
[9] Currás, E. (2010). Ontologies, taxonomies and thesauri in systems science and systematic. Oxford : Chandos.
[10] J. Cantais, D. Dominguez, V.Gigante, L. Laera and V. Tamma. (2005). “An example of food ontology for diabetes control” International Semantic Web Conference 2005
workshop on Ontology Patterns for the Semantic Web.
[11] C. Snae and M. Bruckner. (2008). "FOODS: A Food-Oriented ontology-driven system” IEEE International Conference on Digital Ecosystems and Technologies, 169-
176.
[12] C. S. Lee, M. H. Wang, H. C. Li, and W. H. Chen. (2008). Intelligent ontological agent for diabetic food recommendation. IEEE World Congress on Computational
Intelligence.
[13] นาถธิชา เกษรพันธ์. (2554). การพัฒนาออนโทโลยีสำหรับระบบให้คำแนะนำอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญตามหัวข้องานวิจัยของนักศึกษา. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่, เชียงใหม่.
[14] ปฏิคม ทองจริง. (2552). ออนโทโลยีสำหรับการรวมข้อมูลเชิงความหมายของความรู้ด้านสมุนไพรไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
[15] McGuinness, D., Harmelen, F. (2004). OWL Web Ontology Language Overview: available online at https://www.w3.org/TR/2004/REC-owl-features-20040210/
[16] Buranarach, M., Rattanasawad, T., Ruangrajitpakorn, T. (2015) : Ontology-based Framework to Support Recommendation Rule Management using Spreadsheet. The
Tenth Internation-al Conference on Knowledge, Information and Creativity Support Systems (KICSS2015).