การพัฒนาระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

ธรัช อารีราษฎร์
วรปภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาสภาพของการตรวจสอบระบบเครือข่าย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  2) พัฒนาระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 3) ศึกษาการยอมรับระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 25 คน ตามคำสั่งเลขที่ 2750/2556 ลงวันที่ 18 เดือน กันยายน  2556  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพของการตรวจสอบระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) ระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3) แบบสอบถามต่อความเหมาะสมขององค์ประกอบระบบ และระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และ 5) แบบสอบถามการยอมรับระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


           ผลการวิจัย พบว่า  1) ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อสภาพ และแนวทางการดำเนินงานการบริหารจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  โดยเฉลี่ยอยู่ระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสภาพทั่วไป อยู่ในระดับมาก ด้านการตรวจสอบระบบเครือข่าย อยู่ในระดับปานกลาง และด้านแนวทางการบริหารจัดการระบบตรวจสอบเครือข่าย อยู่ในระดับมากที่สุด  2) ผลการพัฒนาระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า 2.1) สถาปัตยกรรมของระบบจะมีโครงสร้างโดยข้อมูลของอุปกรณ์ WIFI ที่ติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ทั่วมหาวิทยาลัย จะจัดเก็บที่ฐานข้อมูลของระบบ CACTI ผ่านระบบโพลโตคอล SNMP 2.2) องค์ประกอบของแอพพลิเคชั่น ประกอบไปด้วย 6 ฟังก์ชั่น  ได้แก่ การแจ้งซ่อม WIFI การรายงานการใช้หน่วยความจำ  การรายงานข้อมูลรูปแบบกราฟ การรายงานอัตราการรับส่งข้อมูล และการรายงานข้อมูลผู้ใช้งานที่เชื่อมต่อ 2.3) สถาปัตยกรรม และองค์ประกอบของแอพพลิเคชั่น มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  2.4) แอพพลิเคชั่นที่พัฒนา สามารถโหลดได้จาก Play Store และจาก APP Store ภายใต้ชื่อว่า RMUnetmonitor  2.5) แอพพลิเคชั่นมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2.6) ผลการทดลองใช้แอพพลิเคชั่น พบว่า คุณภาพของแอพพลิเคชั่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแอพพลิเคชั่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการศึกษาการยอมรับ พบว่า ความคิดเห็นในการยอมรับที่มีต่อแอพพลิเคชั่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] ธรัช อารีราษฎร์ และ วรปภา อารีราษฎร์. (2557). การพัฒนาระบบเครือข่ายการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[2] มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2556). แผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม พ.ศ. 2556-2560. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[3] วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2555). โครงการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานเฝ้าระวัง ระบบเครือข่ายสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[4] พิธพร อรุณรังสี. (2554). ระบบตรวจสอบและจัดการเครือข่าย. สารนิพนธ์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. กรุงเทพมหานคร.
[5] สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล. (2554). แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น. สืบค้นจากhttp://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_11/pdf/aw018.pdf
[6] สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. KMITL Information Technology Journal. สืบค้นจาก
journal.it.kmitl.ac.th/getFile.php?articleId=4fc7969f1698b87278000000
[7] Best, John. W. (1997). Research in Education. 3nd. Ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice-Hell,Inc.
[8] ธรัช อารีราษฎร์ และ วรปภา อารีราษฎร์. (2559). การบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคามโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคลาวด์. วารสารวิทยาการจัดการ
สมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 178-193.