การพัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RMU MOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ

Main Article Content

กาญจนา ดงสงคราม

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RMU MOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ 2) สอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RMU MOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อของคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RMU MOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RMU MOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RMU MOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


             ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RMU MOOC สำหรับการเรียนการสอนแบบโครงการ สำหรับหลักสูตรการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยโปรแกรม Scratch เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนบนระบบออนไลน์ มีระยะเวลาในการอบรม 3 วัน วันละ หรือ 18 ชั่วโมง มีกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 1) การคิดและเลือกหัวข้อ
2) การวางแผนการสร้างชิ้นงาน 3) การสร้างสรรค์ชิ้นงาน 4) การนำเสนอ และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการประเมินคู่มือมีความเหมาะสมเฉลี่ยรวมระดับมากที่สุด และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วิภา เจริญภัณฑารักษ์. (2558). MOOC: การศึกษาฟรีแบบเปิดในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 8(2), 1-15.
[2] ณฐภัทร ติณเวสและฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3),
1463-1479.
[3] จารุมน หนูคง และ ณมน จีรังสวุรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการสอนแบบ MOOC เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี สำหรับ
นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 6(1), 105-113.
[4] ชนันท์ธิดา ประพิณ และคณะ. (2560). การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย,” Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 299-317.
[5] กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย และ สุรพล บุญลือ. (2558). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยแหล่ง ทรัพยากรการเรียนรู้แบบเปิด โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ในหลักสูตร การ สร้างสื่อ
ดิจิตอลคอนเทนต์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 29. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[6] กาญจนา ดงสงคราม และคณะ. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การบริการวิชาการชุมชนโดยใช้หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี
สารสนเทศและนวัตกรรม, 4(1), 114-124.
[7] พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.