ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการศึกษาแบบเปิด สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ชเนตตี พิมพ์สวรรค์
กันยารัตน์ เควียเซน

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงที่มีต่อการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการศึกษาแบบเปิด สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ พื้นที่วิจัย คือ หน่วยงานที่ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่สำนักคอมพิวเตอร์ จำนวน 11 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง จำนวน 11 คน โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารประสบปัญหาส่วนใหญ่ในด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2) ผู้บริหารส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการผลักดันและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยราชภัฏร่วมเป็นองค์กรเพื่อให้บริการการศึกษาแบบเปิดสู่สาธารณะในรูปแบบ MOOC

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Delia Browne. (2009). Open Education Revolution Sharing Nicely. Unlocking IP 2009 Conference
National and Global Dimensions of the Public Domain.
[2] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ.
2554-2563 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา.
[3] ยืน ภู่วรวรรณ. (2559). การจัดการเรียนการสอนในบริบทดิจิทัล: Effective Learning and Teaching in Digital Eco-
system. เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[4] เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2016). Thailand 4.0 เพื่อดันไทยสู่ผู้นำด้านดิจิทัลใน ASEAN. บทความไอที 24 ชั่วโมง.
สืบค้นจาก https://www.it24hrs.com/2016/thailand-4-0-digital-service-asean/
[5] ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). นวัตกรรมการเรียนการสอนกับ การศึกษาระบบ 4.0. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร
การพัฒนานวัตกรรมการสอนมิติใหม่เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยศูนย์
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา.
[6] Richard G. Baraniuk and Hwang Dae Yun (2013). การเสวนาหัวข้อ IT และ Social Media เปลี่ยนชีวิตเราอย่างไร.
สรุปสาระสำคัญ OKMD Knowledge Festival 2013.
[7] วิลาศ วูวงศ์. (2016). การศึกษาแบบเปิด (Open Education) (2): Open Textbooks. สืบค้นจาก
https://www.facebook.com/notes/vilas-wuwongse/
[8] เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). ทิศทางการอุดมศึกษาไทย. สืบค้นจาก http://www.kriengsak.com
[9] ชุติพร อนุตริยะ. (2559). การประยุกต์ใช้ OER และ MOOC เพื่อพัฒนาการ เรียนการสอน ที่รองรับการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการบรรยายการสัมมนาวิชาการ “Digital Education ก้าวใหม่ของการศึกษาไทย”.
[10] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง
ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา). กรุงเทพมหานคร : ๒๑ เซ็นจูรี่ จำกัด.
[11] Hassan M. Selim. (2007). Critical success factors for e-learning acceptance: ConWrmatory factor models.
Computers & Education, 49. 396–413. doi:10.1016/j.compedu.2005.09.004