การพัฒนาเว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Main Article Content

ทิพวัลย์ แสนคำ

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และ  2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพของฐานข้อมูล ได้แก่ สมาชิกชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) เว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์สามารถพัฒนาโดยใช้วิธีวัฏจักรการพัฒนาระบบ  เอสดีแอลซี (System Development Life Cycle; SDLC) ในการวิเคราะห์ระบบและใช้โปรแกรมฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (My SQL) ในการเก็บข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลทางจอภาพเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตข้อมูลประกอบด้วย 1) คณะ 2) สาขาวิชา 3) สมาชิกศิษย์เก่า 4) งาน 5) รายละเอียดของศิษย์เก่า 6) ข่าว ระบบสามารถบันทึก ปรับปรุง แก้ไขสืบค้น และบำรุงรักษาข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลตามประเภทผู้ใช้ การใช้ฐานข้อมูลมีความสะดวก ง่ายต่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลและการใช้งานสามารถสืบค้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านและเรียงลำดับค่าเฉลี่ย 3 ลำดับแรกคือ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบหน้าจอเว็บไซต์และด้านการใช้งานตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สุภาภรณ์ บุญเจริญ. (2554). การศึกษาความต้องการในการให้บริการแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ชลบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
[2] ชยันต์ นันทวงศ์, และ ณิชา นภาพร จงกะสิกิจ. (2552). การพัฒนาระบบสารสนเทศศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครสวรรค์.
[3] จินดา เจริญผล, รุ่งระวี ศิริวงศ์วิบูลย์ และสนั่น พิศแลงาม. (2546). การพัฒนาเว็บไซต์ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศศิษย์เก่า โรงเรียนเทคโนโลยีภาคใต้ (เอสเทค). (โครงงานปัญหาพิเศษ ครุ
ศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[4] วีรวรรณ จันทนะทรัพย์ และ ภภัสสร สิงหธรรม. (2555). ระบบจัดการเนื้อหาเว็บศิลปะวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมชุมชน. รายงานวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลพระนคร.
[5] พรสวรรค์ จันทะคัด. (2552) การพัฒนาระบบสารสนเทศศิษย์เก่าบนอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[6] ฐิตารัตน์ รัชตะวรรณ. (2547). ออกแบบและสร้างเว็บสวยด้วยตนเอง. นนทบุรี : ไอดีซี.
[7] นรภัทร ฉัตรทิน. (2554). เว็บแอพพลิเคชันแบบพลวัตสำหรับจัดการข้อมูลศิษย์เก่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
[8] สมศักดิ์ จีวัฒนา, ชลัท รังสิมาเทวัญ และ ณปภัช วรรณตรง. (2559). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางสัณฐานวิทยา และพันธุศาสตร์เซลล์ของจิ้งเหลนสกุล Eutropis. บุรีรัมย์
: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
[9] สมพิศ สุขแสน. (2550). สภาพและความพึงพอใจในการใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.