ผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้โมบายเลิร์นนิ่งด้วยเทคนิคสเปซรีพิททิชั่น

Main Article Content

ชายแดน มิ่งเมือง

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาหลักการและแนวทางการประยุกต์ใช้โมบายเลิร์นนิ่งและเทคนิคสเปซรีพิทิชั่น วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สรุปผลและนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 31 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสม สถิติที่ใช้เป็นค่า ร้อยละ


      ผลการศึกษาพบว่า หลักการและแนวคิดของโมบายเลิร์นนิ่ง คือ เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา, เรียนรู้ได้ทันที และเรียนรู้แบบมีกระบวนการ   สำหรับหลักการและแนวคิดของเทคนิคสเปซรีพิทิชั่น คือ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้, มีการเรียนรู้แบบตอบสนอง และช่วยให้จดจำความรู้ได้ดี สามารถตอบสนองต่อ บริบท สภาพ และความต้องการของประเทศไทย ที่มีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นพัฒนาประเทศด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการพัฒนาดิจิทัลคอนเทนท์ และ พฤติกรรมของเยาวชนที่มีการใช้โทรศัพท์กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โมบายเลิร์นนิ่งด้วยเทคนิคสเปซรีพิททิชั่น มีค่าเห็นด้วยในด้านต่างๆของการจัดการเรียนรู้ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.97

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร.
[2] พรชัย ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์, วีระยุทธ โถวประเสริฐ และ คิริภัทร เกียรติพันธุ์สดใส. (2557). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาแพทย์ ต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนชั้น
คลินิก. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 14(3).
[3] ธัญธัช วิภัตภูมิประเทศ. (2559). พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สุทธิปริทัศน์, 30(95).
[4] สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ในประเทศไทย ปี 2558. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร.
[5] สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ในประเทศไทย ปี 2559. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร.
[6] วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 2. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
[7] ธงชัย แก้วกิริยา. (2553). e-Learning ก้าวไปสู่ M-Learning ในยุคสังคมของการสื่อสารไร้พรหมแดน. วารสารร่มพฤกษ์, 28
[8] Hashim, A. (2007). Mobile Technology for Learning Java Programming-Design and Implementation of a Programming Tool for VISCOS Mobile. Unpublished Master’s
thesis, University of Joensuu, Finland.
[9] Ally, M. (2009). Mobile learning: Transforming the delivery of education and training. Athabasca University Press.
[10] AVENOĞLU, B. (2005). Using mobile communication tools in web based instruction (Doctoral dissertation, middle east technical university).
[11] Ozdamli, F., & Cavus, N. (2011). Basic elements and characteristics of mobile learning. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 28, 937-942.
[12] ธงชัย แก้วกิริยา. (2559). “การ ออกแบบ และ พัฒนา บทเรียน M-learn รูป แบบ เกม มัลติมีเดีย สำหรับ iOS และ Android.” วารสาร ร่ม พฤกษ์ (ROMPHRUEK JOURNAL), 33(1),
119-135.
[13] ปิยะนุช วงษกลาง, ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี, ผดุงชัย ภู่พัฒน์. (2557). การพัฒนาบทเรียนโมบายในรูปแบบการ์ตูนแอนิเมชั่นสำหรับ การเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง อาเซียนศึกษา ของนักเรียน
ประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
[14] วงษ์ปัญญา นวนแก้ว, ชเนตตี พิมพ์สวรรค์, จรัญ เจิมแหล่. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดย
เอ็มเลิร์นนิ่ง วิชากระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ 2 ด้วยโปรแกรมประยุกต์ลักษณะฟอร์ม. การประชุมวิชาการะดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ครั้งที่ 2 คณะเทคโนโลยี
สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[15] Blocki, J., Komanduri, S., Cranor, L., & Datta, A. (2014). Spaced repetition and mnemonics enable recall of multiple strong passwords. arXiv preprint
arXiv:1410.1490.
[16] Schimanke, F., Vornberger, O., Mertens, R., & Vollmer, S. (2013, December). Multi category content selection in spaced repetition based mobile learning games. In
Multimedia (ISM), 2013 IEEE International Symposium on (pp. 468-473). IEEE.
[17] Leitner, S. (1972). So lernt man lernen: der Weg zum Erfolg. Herder.
[18] Wozniak, P. A., & Gorzelanczyk, E. J. (1994). Optimization of repetition spacing in the practice of learning. Acta neurobiologiae experimentalis, 54, 59-59.
[19] Chukharev-Hudilainen, E., & Klepikova, T. A. (2016). The effectiveness of computer-based spaced repetition in foreign language vocabulary instruction: a double-
blind study. calico journal, 33(3).
[20] Bower, J. V., & Rutson-Griffiths, A. (2016). The relationship between the use of spaced repetition software with a TOEIC word list and TOEIC score gains. Computer
Assisted Language Learning, 29(7), 1238-1248.