ระบบควบคุมการให้น้ำสำหรับแพะไล่ทุ่งแบบอัตโนมัติ

Main Article Content

Thanin Muangpool
บุญธง วสุริ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบควบคุมระดับน้ำแบบอัตโนมัติสำหรับการให้น้ำแพะไล่ทุ่ง และ 2) หาประสิทธิภาพของระบบควบคุมระดับน้ำแบบอัตโนมัติสำหรับการให้น้ำแพะไล่ทุ่งในฟาร์มเลี้ยงแพะไล่ทุ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบควบคุมระดับน้ำแบบอัตโนมัติ แบบบันทึกเวลาการเติมน้ำด้วยแรงงานคน และแบบบันทึกเวลาการเติมน้ำด้วยระบบควบคุม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ


     ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบควบคุมระดับน้ำแบบอัตโนมัติสำหรับการให้น้ำแพะไล่ทุ่งที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยโครงฐานของระบบ ถังพักน้ำ ถังให้น้ำ โซลินอยด์วาล์ว ปั๊มน้ำ ตัวตรวจวัดระดับน้ำ และระบบควบคุม โดยมีอัตราการไหลของน้ำในระดับน้ำแบบอัตโนมัติ สำหรับการให้น้ำแพะไล่ทุ่ง พบว่า อัตราการไหลของน้ำจากปั้มน้ำลงถังพักน้ำ 200 ลิตร เฉลี่ยอัตราการไหลอยู่ที่ 58.06 ลิตรต่อนาที และอัตราการไหลของน้ำที่ควบคุมด้วยโซลินอยด์วาล์วในการปล่อยน้ำลงอ่างน้ำขนาด 100 ลิตร เฉลี่ยอัตราการไหลอยู่ที่ 10.75 ลิตรต่อนาที และ 2) ประสิทธิภาพของระบบควบคุมระดับน้ำแบบอัตโนมัติสำหรับการให้น้ำแพะไล่ทุ่งในฟาร์มเลี้ยงแพะไล่ทุ่ง สำหรับการทดลองใช้งานจริงพบว่าสามารถประหยัดเวลาในการให้น้ำแพะได้ดีกว่าการเติมน้ำแบบใช้แรงงานคน ร้อยละ 19.11

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

บุญธง วสุริ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Nakhon Pathom Rajabhat University 85 Malaiman Road, Muang, Nakhon Pathom 73000 Thailand

References

[1] กนกวรรณ บัวคีรี. (2557). การศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมแพะในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[2] กนกพร ภาคีฉาย ปริญญา เฉิดโฉม อุไรวรรณ อินทศร และบัญชา สัจจจาพันธ์. (2559). ความเป็นไปได้ทางการเงินของการลงทุนเลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์ในภาคใต้ของประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร เศรษฐศาสตร์ทรัพยากร เศรษฐศาสตร์การอาหาร และธุรกิจการเกษตร ครั้งที่ 5 ประจำปี 2559, วันที่ 5 กรกฎาคม 2559, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[3] อนุชา แก้วพูลสุข และเกรียงศักดิ์ พรมภักดิ์. (2555). เซนเซอร์ชนิดเปลี่ยนแปลงค่าความจุ ไฟฟ้าราคาถูกและวงจรเชื่อมต่อสัญญาณ สําหรับระบบเฝ้าตรวจวัดระดับน้ำ. NU Science Journal 2012; 9(1): 98 – 108.
[4] ธานิล ม่วงพูล และอวยไชย อินทรสมบัติ. (2560). การพัฒนาระบบระบายความร้อนด้วยท่อทำความเย็นแบบท่อทองแดงร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม– ธันวาคม 2560 หน้า 47-56, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
[5] ปฏิภาณ ดำรงธรรมสกุล ธิติ อัคราภิรมย์ และประณต ไชยศล. (2558). ระบบควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติ. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[6] ปพณ สะอาดยวง และสุรชาติ ลี้รากรีผล. (2557). การออกแบบวงจรสวิทชิ่งความถี่ต่ำควบคุมซลินอยด์วาล์ว ชุด hydraulic damper เพื่อลดความร้อนสะสมป้องกันเครื่องจักร Gas Turbine และ HRSG Trip. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม: เทพสตรี I-TECH. ปีที่ 9 ฉบับที่ 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
[7] ศุภกร กตาธิการกุล และคณดิถ เจษฎ์พัฒนานนท์. (2558). การวัดระดับน้ำโดยใช้เทคนิคการวัดความจุไฟฟ้า. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ หน้า 254-260 มหาวิทยาลัยทักษิณ.
[8] ณัฐพล ดวงศรีทอง ระพีพันธ์ ใจมา และศรัณย์ เขียวเหล็ก. (2554). การวัดระดับน้ำโดย Arduino. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.