การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมือ กรณีศึกษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Main Article Content

Kritsada Hinthao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบรูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมือ กรณีศึกษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการจัดการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่มมือ กรณีศึกษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมือ กรณีศึกษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 มาตรฐานต่าง ๆ ส่วนที่ 2 หลักการ ทฤษฎี ต่าง ๆ ส่วนที่ 3 การบริการจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมือ ส่วนที่ 4 องค์ประกอบของห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมือ ส่วนที่ 5 ตัวบ่งชี้ของรูปแบบ 2) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่มมือ กรณีศึกษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความเหมาะสมด้านความเหมาะด้านองค์ประกอบของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมด้านมาตรฐานต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมด้านหลักการ ทฤษฎี อยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมด้านการบริการจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมืออยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมด้านองค์ประกอบห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมือ อยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมด้านของตัวบ่งชี้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด และความเหมาะสมด้านกระบวนการการบริหารจัดการห้องเรียนไอซีทีแบบร่วมมือ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์.
กรุงเทพมหานคร. 2552.
[2] อดิเรก เยาว์วงค์. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก บนการปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง โดยใช้
โปรแกรมจำลองเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับวิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร.
[3] Dalibor Dobrilovic. (2013). Expanding Usability of Virtual Network Laboratory in IT Engineering
Education. iJOE – Volume 9, Issue 1, February 2013. Serbia.
[4] Y.Khazri, A.Al Sabri, B. Sabir, H. Toumi, M.Moussetad, Ahmed Fahli. (2017). Development And
Management of A Remote Laboratory In Physics For Engineering Education (E-LAB FSBM).
Proceedings of the 2Nd International Conference on Big Data, Cloud and Applications, 2,
103:1-103:6. doi: 10.1145/3090354.3090460
[5] Ruben Heradio, Luisde la Torre, Daniel Galan and Francisco Javier Cabrerizo. (2016). Virtual and remote
labs in education: A bibliometric analysis. Computers & Education Volume 98, July 2016,
Pages 14-38. doi: 10.1016/j.compedu.2016.03.010
[6] กฤษดา หินเธาว์, ธรัช อารีราษฎร์, และวรปภา อารีราษฎร์. การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบร่วมมือ. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 (น.135-140)
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม.
[7] Best, John W. (1997). Research in Education. (3nd. Ed.,). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hell.