การพัฒนาระบบกำกับติดตามโครงการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบกำกับติดตามโครงการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบกำกับติดตามโครงการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบกำกับติดตามโครงการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบบสอบถาม
ความพึงพอใจ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบกำกับติดตามโครงการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วย 9 เมนูหลัก ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน งบประมาณ โครงการ เบิกจ่าย รายงานสรุป ค้นหา คู่มือใช้งาน ติดต่อสอบถาม และออกจากระบบ ผู้ใช้งานระบบสามารถดูรายงานผลการดำเนินโครงการได้ อย่างรวดเร็วจากแผนภูมิ และผลสรุปการดำเนินโครงการเมื่อเปรียบเทียบกับแผนการดำเนินการที่ได้กำหนดไว้ โดยแสดงจำนวนโครงการและร้อยละของโครงการทั้งที่ได้ดำเนินการแล้วและยังไม่ได้ดำเนินการเมื่อเทียบกับแผนการจัดโครงการที่ได้กำหนดไว้จำแนกตามช่วงระยะเวลา คือ รายปี รายไตรมาส และรายเดือน และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าระบบมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และสามารถนำไปใช้ในการกำกับติดตามโครงการในองค์กรได้
Article Details
References
[2] สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2556). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กระทรวงศึกษาธิการ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
[3] บุญฑริกา ภูผาหลวง. (2556). สัมมนาพัฒนาแผนกลยุทธ์และการบริหารงบประมาณ. สืบค้นจาก https://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=2571&uf=&qu=
[4] สิน พันธุ์พินิจ. (2555). เทคนิคการวางแผนและประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
[5] ทวีป ศิริรัศมี. (2545). การวางแผนและประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
[6] พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์.
[7] ทัศนียา บริพิศ. (2552). การกำกับติดตามและการประเมินผล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
[8] สกาวรัตน์ จงพัฒนากร. (2550). การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[9] โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.
[10] ดวงจิต สนิทกลาง. (2550). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานแผนงานและนโยบาย โรงเรียนมัธยมประดู่วัฒนา อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[11] มาโนชญ์ ตนสิงห์. (2552). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามโครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
[12] ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.