การพัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

เอก กนกพิชญ์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 100 คน จากโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรม แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความเหมาะสมของเทคโนโลยี  และสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย สื่อวีดิโอการเรียนรู้ 5 เรื่อง เฟซบุ๊กเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 กลุ่ม  และคู่มือกิจกรรม จำนวน 5 เรื่อง  ประกอบด้วย การทำว่าวปักเป้า  การเดินกะลา  การทำโคมลอย  การทำบั้งโพล๊ะ  และการทำไม้โถกเถก  คู่มือแต่ละเรื่องมีองค์ประกอบ 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่  หน่วยที่  1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา  หน่วยที่  2 การประยุกต์ใช้สื่อไอซีที เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา  และหน่วยที่  3  การประยุกต์ใช้สื่อไอซีทีในการสร้างชิ้นงาน  ซึ่งแต่ละหน่วยการเรียนรู้ประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้  ขั้นตอนกิจกรรม  ใบความรู้  ใบงาน  และแบบประเมิน  ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อความเหมาะสมของคู่มือการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด  และ2) ผลการทดลองใช้คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และความเหมาะสมของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในการส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8
กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
[2] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือ
บริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน.
[3] เอก กนกพิชญ์กุล ธรัช อารีราษฎร์ และ จรัญ แสนราช. (2560). การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1).
[4] จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2009). โมเดลเชิงสาเหตุของการใช้รูปแบบเป้าหมายทักษะชีวิตที่มีคุณภาพต่อนักเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[5] Best, John. W. (1997). Research in Education. 3nd. Ed., Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice-Hell, Inc.
[6] ณัชชา ศรีวิชัยรัตน์. (2557). การพัฒนาชุดการอบรมประสบการณ์สำคัญด้านสติปัญญาตามแนวคิดของโปร์แมท. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
[7] ศาลิตา บัณฑุกุล. (2554). การสร้างชุดฝึกอบรมการพัฒนาความสุขตามแนวปัญญาเพื่อแนะแนว นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.