การพัฒนาระบบค้นหาเส้นทางภายในอาคารด้วยเทคโนโลยีสื่อสารแบบใกล้เขตข้อมูล สำหรับสมาร์ตโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมต้นแบบในการหาเส้นทางในการแก้ไขปัญหาของผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสุธาเวช 2) ประเมินคุณภาพของระบบค้นหาเส้นทาง และ 3) ประเมินประสิทธิภาพที่มีต่อระบบค้นหาเส้นทาง เครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลการให้บริการโรงพยาบาลสุธาเวช ระบบค้นหาเส้นทางภายในอาคาร แบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบค้นหาเส้นทางภายในอาคาร กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ใช้บริการโรงพยาบาลสุธาเวช จำนวน 30 คนโดยวิธีการคัดเลือกโดยใช้เทคนิคสุ่มแบบบังเอิญ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้บริการด้านข้อมูลนำทางของโรงพยาบาลไปยังตำแหน่งต่างๆไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ที่เข้ารับบริการ สัญลักษณ์หรือป้ายบอกสถานที่ในโรงพยาบาลยังขาดความละเอียดและชัดเจน ซึ่งการให้ข้อมูลเส้นทางภายในอาคารจากเจ้าหน้าที่อาจไม่เพียงพอ 2) ได้พัฒนาโดยใช้ต้นแบบของระบบใหม่ ตามกรอบแนวคิดในการออกแบบและสร้างต้นแบบจากใช้หลักการออกแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เทคโนโลยีและการออกแบบ 3) ผลการประเมินคุณภาพของโปรแกรมค้นหาเส้นทางภายในอาคารจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมค้นหาเส้นทางภายในอาคาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้งสามด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่คะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการใช้งานบนมือถือ
Article Details
References
[2] ณัฐพล แซ่ลิ้มและเชษฐ์ พัฒโนทัย. (2557). ระบบสมาชิกสำหรับแอนดรอยด์สมาร์ตโฟนโดยใช้เอ็นเอฟซีอีมูเลชั่นโหมด. สืบค้นจาก http://202.44.34.144/nccitedoc/admin/nccit_files/NCCIT-20141011140340.pdf
[3] Alan Dix, Janet Finlay & Russell Beale. (2004). Human-Computer Interaction. Third Edition. Harlow Pearson,
[4] บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
[5] เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา. (2543). ระบบป้ายสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: พลัสเพลส.
[6] วิชญ์ศุทธ์ เมาระพงษ์. (2556). NFC เทคโนโลยี การเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบไร้สายแห่งอนาคต. TPA News,
17(201), สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทยญี่ปุ่น). สืบค้นจาก http://www.tpa.or.th/tpanews/
[7] สาธิมล พงษ์วัฒนสุข. (2544). ปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการหาทิศทางในภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
[8] สีหนาท ล่ำซำ. (2553). Near Field Communication (NFC). [สัมภาษณ์โดย ยุทธนา กระบวนแสง].
[9] พิมพ์ลักษณ์ บุญชูกุศล และกันต์พงษ์ วรรัตน์ปัญญา. (2555). การชำระเงินผ่านโทรศัพท์ด้วยเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะสั้นและเทคโนโลยีอื่นๆ. KMITL Information Technology Journal, 1(1).
[10] ศุวิมล ชมชัยยา. (2556). Near Field Communication (NFC) กับโฉมหน้าธุรกิจในยุคที่ขาดมือถือไม่ได้. ไมโครคอมพิวเตอร์. ปีที่ 31.หน้า 51-55.
[11] ศิฬาณี นุชิตประสิทธิ์ชัย. (2548). การเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการ GUI. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[12] รุ่งโรจน์ เกื้อกูลพงศ์. (2557). NFC การเชื่อมต่อที่ไม่ต้องสัมผัส. เซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์. ฉบับที่ 395.หน้า 148-155.
[13] วิชญ์ศุทธ์ เมาระพงษ์. (2555). เปิดประตูสู่การทำงาน รูปแบบใหม่ด้วย Mobile Technology. TPA News, 16(188), สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทยญี่ปุ่น). สืบค้นจาก http://www.tpa.or.th/tpanews/