การพัฒนารูปแบบการสอนแบบ B-SLIM โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด และประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

อรัญญา ราชการกลาง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบ B-SLIM โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดและประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบ B-SLIM โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดและประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  และ 3) ประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ B-SLIM โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดและประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินความเหมาะสม จำนวน 9 คน เป็นศึกษานิเทศก์ 3 คน ครู 3 คน และนักวิชาการ 3 คน โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาด้านการศึกษา สาขาวิจัยการศึกษาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้มีวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบ B-SLIM โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดและประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการสอนแบบ B-SLIM-TPS โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดและประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 นโยบาย แนวคิด ทฤษฎี ประกอบด้วย 1) นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 3) นโยบายของโรงเรียนเมืองคง 4) นโยบายของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  5) บริบทของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 6) ทฤษฎีการเรียนรู้  ส่วนที่ 2 หลักการ ประกอบด้วย 1) การวัดผลและประเมินผล 2) มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด 3) กระบวนการกลุ่ม 4) การยอมรับเทคโนโลยี (TAM)  ส่วนที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนแบบ B-SLIM มีขั้นตอนการสอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนและเตรียม (Planning and Preparation)  ขั้นที่ 2 ขั้นทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้สอนป้อน (Comprehensible Input)  ขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและฝึก (Intake Activity)  ขั้นที่ 4 ขั้นผล (Output) ขั้นที่ 5  ขั้นประเมินผล (Evaluation) 2) เทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิด มี 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นการคิดเดี่ยว (Think) ขั้นการคิดคู่ (Pair) ขั้นการนำเสนอผลงาน (Share) และในขั้นที่ 3 ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและฝึก (Intake Activity) ได้บูรณาการเทคนิคเพื่อนคู่คิดเข้าไปในขั้นนี้  ส่วนที่ 4 นวัตกรรม ประกอบด้วย 1) สื่อการเรียนรู้ 2) วีดิทัศน์  ส่วนที่ 5 ความรู้/ทักษะ/ความพึงพอใจ  2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนแบบ B-SLIM โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดและประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3  พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมในระดับเหมาะสมมากที่สุด โดยค่า = 4.73 และค่า S.D. = 0.44  และ 3. ผลการประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ B-SLIM โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดและประยุกต์ใช้วีดิทัศน์ ในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3  พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสม ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมในระดับเหมาะสมมากที่สุด = 4.76  และค่า S.D. = 0.43 จากการประเมินผู้วิจัยจะทำการพัฒนารูปแบบและปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อให้พัฒนาต่อไป   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
[2] โรงเรียนเมืองคง. (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2558.
นครราชสีมา : โรงเรียนเมืองคง. อัดสำเนา.
[3] Bilash, Olenka S. E. (2002). The Challenges and Successes of Developing a Literacy Community in a Minority
Language in Western Canada : An Action Research Study. Foreign Language Annals.
[4] Lyman, F. (1981). The Responsive Classroom Discussion: The Inclusion of All Students. Main streaming Digest.
University of Maryland, College Park, MD.
[5] ณัฐพัชร สายเสนา. (2559). การใช้วีดิทัศน์ของคริสโตเฟอร์ไรท์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของ
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม..
[6] ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2549). คู่มือการสอนภาษาอังกฤษ. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, มหาสารคาม.
[7] มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ Mentor Coached Think-Pair-Share เพื่อเพิ่ม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(1), 99-105.
[8] วัชรินทร์ อุปัชฌาย์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Travel and weather
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ B-SLIM. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
[9] ปวีณา บุตรวงศ์. (2558). ผลการเรียนรู้คำศัพท์และความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้
กลวิธีลินซ์ร่สมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
[10] Best, John W. (1997). Research in Education. ed. Englewood Cliffs, New Jersey. Prentice – Hill, Inc.
{11] บุษรา ลายทอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ หน่วยวัฒนธรรมในอาเซียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสาร
วัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 1(2), 190-202.
[12] อารีย์ ปรีดีกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการสอนน้อยเรียนมาก TLLM เป็นฐานเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในประชาคม ASEAN สำหรับนักศึกษาอุดมศึกษา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ ภาคเหนือ ครั้งที่ 15. 1831-1844.